Page 78 - kpi20767
P. 78
53
ในขณะที่ ศิรินันท์ หล่อตระกูล (2560) ได้ศึกษาเรื่องรูปแบบการน านโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อความส าเร็จในการน านโยบายไป
ปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ พบปัจจัยที่ส่งผลต่อการน านโยบายไปปฏิบัติขององค์การ
บริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ คือ ความชัดเจนในวัตถุประสงค์ของนโยบาย ส่วน ชยุต มารยาทตร์ และ
ไชยา ยิ้มวิไล (2560) ก็ได้ศึกษาเรื่องการบริหารจัดการสถานีต ารวจตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้า
สถานีต ารวจนครบาล โดยมุ่งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการจัดการสถานีต ารวจตามหลักธรรมา
ภิบาล ซึ่งพบปัจจัยด้านนโยบายการบริหารที่มีผลต่อการบริหารจัดการสถานีต ารวจตามหลักธรรมาภิบาล
อีกทั้งจากการศึกษาของ ศุภณัฏฐ์ สัตยาภิวัฒน์ บุญทัน ดอกไธสง และ บุญเลิศ ไพรินทร์ (2557) เรื่อง
ประสิทธิผลการบริหารงานระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศาลยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อประสิทธิผลการบริหารระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของ
ศาลยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อประสิทธิผลการบริหารระบบไกล่
เกลี่ยข้อพิพาทนั้นคือปัจจัยการพัฒนาระดับนโยบายโดยการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือ
ให้มากขึ้น
2.5.2 ปัจจัยแห่งความส าเร็จด้านการสื่อสารระหว่างหน่วยงาน
จากการรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ซึ่งมีผลต่อความส าเร็จในการน านโย
บายไปปฏิบัติ ผู้วิจัยได้พบว่ามีงานวิจัยที่ได้มีการอธิบายถึงปัจจัยแห่งความส าเร็จด้านการสื่อสารระหว่าง
หน่วยงาน ในฐานะปัจจัยที่มีผลต่อความส าเร็จในการน านโยบายด้านต่างๆ ไปปฏิบัติ ซึ่งจากผลการศึกษา
ของ ศิรินันท์ หล่อตระกูล (2560) เรื่องรูปแบบการน านโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
กาฬสินธุ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อความส าเร็จในการน านโยบายไปปฏิบัติของ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ พบปัจจัยที่ส่งผลต่อการน านโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วน
จังหวัดกาฬสินธุ์ คือ การสื่อสารระหว่างหน่วยงาน และจากการศึกษาของ ธนบดี ฐานะชาลา (2560)
เรื่องปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออก โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาค
ตะวันออก และพบว่าปัจจัยการสื่อสารระหว่างรัฐกับประชาชน เป็นปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของ
ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากการศึกษาของ สัณฑภวิษย์ มากช่วย (2558) เรื่องปัจจัยที่เป็น
อุปสรรคต่อความส าเร็จในการน านโยบายแก้ไขบัญหายาเสพติดไปปฏิบัติของกองบัญชาการต ารวจ
ปราบปรามยาเสพติด และพบว่าปัจจัยการสื่อสารระหว่างรัฐกับประชาชน เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความส าเร็จ
ในการน านโยบายแก้ไขบัญหายาเสพติดไปปฏิบัติ และจากการศึกษาของ วรานิษฐ์ ล าใย (2557) เรื่องการ
พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนต าบลเพื่อพัฒนาชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันตก