Page 77 - kpi20767
P. 77
52
เครื่องมือชี้วัดที่เหมาะสม หรือท าการประเมีนผลงานจากผลกระทบทางสังคมและผลการพัฒนาที่เกิดขึ้น
โดยพิจารณาจากเป้าหมายของการพัฒนาซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
4) วรเดช จันทรศร (2554) ได้บูรณาการแนวคิดทฤษฎีของนักวิชาการต่างชาติและสรุป
ปัจจัยที่มีผลต่อความส าเร็จในการด าเนินงานตามนโยบายได้ 7 ตัวแปร ได้แก่ 1) ด้านนโยบาย 2) ด้านการ
ก าหนดภารกิจและการมอบหมายงาน 3) ด้านทรัพยากร 4) ด้านสภาพแวดล้อม 5) กลุ่มเป้าหมาย/
ประชาชนผู้รับบริการ 6) การประสานงานและความร่วมมือ และ 7) การประชาสัมพันธ์
2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความส าเร็จในการด าเนินงานตาม
หลักธรรมาภิบาล
ในการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความส าเร็จในการด าเนินงานตาม
หลักธรรมาภิบาลนี้ ผู้วิจัยได้ท าการก าหนดเกณฑ์ในการเลือกงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยแห่งความส าเร็จ
รวมถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคในการด าเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรต่างๆ ในประเทศไทย
ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ซึ่งมีผลต่อความส าเร็จในการน านโยบายไปปฏิบัติ ในช่วง
ระยะเวลาระหว่าง พ.ศ. 2551- 2561 และเป็นรายงานการวิจัยหรือบทความวิจัยซึ่งได้รับการตีพิมพ์ใน
วารสารวิชาการกลุ่มหนึ่งเท่านั้น (tci กลุ่ม 1) ดังนี้
2.5.1 ปัจจัยแห่งความส าเร็จด้านนโยบาย
จากการรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ซึ่งมีผลต่อความส าเร็จในการน า
นโยบายไปปฏิบัติ ผู้วิจัยได้พบว่ามีงานวิจัยที่ได้มีการอธิบายถึงปัจจัยแห่งความส าเร็จด้านนโยบาย ใน
ฐานะปัจจัยที่มีผลต่อความส าเร็จในการน านโยบายด้านต่างๆ ไปปฏิบัติ ซึ่งจากผลการศึกษาของฐิติพงศ์
วิชัยสาร และวนิดา สุวรรณนิพนธ์ (2561) เรื่องความส าเร็จในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคอย่างยั่งยืน
มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่ประสบความส าเร็จในการบริหารราชการ
ส่วนภูมิภาค โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งนโยบายการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมมีอิทธิพลต่อการ
บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล และมีอิทธิพลต่อความส าเร็จของการบริหารราชการส่วน
ภูมิภาคเช่นกัน และจากการศึกษาของ วาสนา พงศาปาน และจุรี วิจิตรวาทการ (2561) เรื่องผลการ
ด าเนินงานขององค์การมหาชนในประเทศไทย ซึ่งมุ่งที่จะท าความเข้าใจเกี่ยวกับองค์การมหาชนใน
ประเทศไทยโดยผ่านกระบวนการด าเนินงานขององค์กรมหาชน โดยใช้กรณีศึกษาจาก 3 องค์การมหาชน
ที่มีผลการประเมินผลตามค ารับรองการปฏิบัติงานอยู่ในกลุ่มที่ดีมาก (Best Practice) เนื่องมาจาก
องค์การมหาชนมีปัจจัยหลักที่มีผลต่อการด าเนินงานขององค์การซึ่งได้แก่ การมอบหมายนโยบาย และ
ความต่อเนื่องของนโยบายท าให้การบริหารจัดการมีความคล่องตัว และผู้ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ