Page 343 - kpi20767
P. 343
318
ปัจจัยด้านค่านิยม/วัฒนธรรม พบว่า บุคลากรในกรมทั้งสามกรมมีการตั้งเป้าหมายการ
ท างานที่ชัดเจน บุคลากรสามารถปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายและเสร็จตามเวลาที่ก าหนดมีการวาง
แผนการท างานเป็นขั้นตอน บุคลากรน าเอาผลการปฏิบัติงานมาพัฒนางานตนเองอยู่เสมอ บุคลากร
ปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายและเสร็จตามเวลาที่ก าหนดเสมอ บุคลากรเข้าใจทิศทางและกลยุทธ์ของ
หน่วยงานอย่างชัดเจน บุคลากรได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของตนเองจาก
ผู้บังคับบัญชาอยู่เสมอ สอดคล้องกับการวิจัยเชิงคุณภาพของกรมการท่องเที่ยว ที่ว่า “...กรมของเรามี
จุดเด่นตรงวัฒนธรรมองค์การดี ประสานงานภายในดี ได้รับการตอบสนองดี วัฒนธรรมการท างาน
จากระบบราชการ การสั่งอย่างเดียวยังมีอยู่ บางท่านก็ลงมาคลุกคลีกับลูกน้องก็มี แรงจูงใจ ลักษณะ
งานสนุก งานท้าทาย แก้ปัญหาเปิดโอกาสให้ก้าวหน้าโดยใช้ความสามารถ เปิดโอกาสให้พูด รับฟัง
ความเห็น ความสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้บังคับบัญชาดี บรรยากาศในการท างานดี การเข้าออกมีแต่ไม่
มาก ต้องหาคนอื่นมาเสริม มีการสอนงานพูดคุยมีการเอากรณีศึกษามาพูดคุย มีการแจ้งข้อมูลข่าวสาร
จากผู้บังคับบัญชาให้คนในหน่วยงานทราบ”
ส าหรับระดับปัจจัยที่ส่งต่อการด าเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลในระดับปานกลาง ซึ่งมีเพียง
ตัวแปรเดียวคือ “ปัจจัยด้านทรัพยากร” กล่าวคือ การมีวัสดุ อุปกรณ์ ต่าง ๆ ไม่เพียงพอต่อการ
ด าเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ มีงบประมาณ
ในการท างานไม่เพียงพอต่อการด าเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบ
การบริหารจัดการ มีการกระจายงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ และบุคลากรส าหรับการปรับสมดุล
และพัฒนาระบบการบริหารจัดการยังไม่เหมาะสม การมีบุคลากรยังไม่เพียงพอต่อการด าเนินการตาม
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ สอดคล้องกับผลการวิจัยเชิง
คุณภาพของทั้งสามกรมฯ ที่ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น ทรัพยากรจึงเป็นปัจจัยที่อาจ
ส่งผลให้การด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
ประสบปัญหาได้ สอดคล้องกับแนวคิดของ Van Meter and Van Horn (1975) Edwards III (1980)
ที่ระบุว่า ทรัพยากรนโยบาย (Policy Resources) กล่าวคือ สิ่งอ านวยความสะดวกต่อการบริหาร
นโยบาย ทรัพยากรนโยบายอาจรวมถึงเงินและสิ่งเสริมทั้งปวงที่ก าหนดไว้ในแผนงาน ทรัพยากร
เหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมหรือช่วยให้ความสะดวกต่อประสิทธิผลของการน านโยบายไปปฏิบัติ
นอกจากนั้นยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิรินันท์ หล่อตระกูล (2560) เรื่องรูปแบบการน านโยบายไป
ปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการน านโยบายไปปฏิบัติของ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ คือ ปัจจัยความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์
(ทรัพยากร) และงานของก าจร อ่อนค า รัฐบุรุษ คุ้มทรัพย์, รณัน จุลชาต และอภิวัฒน์ พลสยม (2559)
เรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อความส าเร็จกับการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วน
ต าบลตะเคียน อ าเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งสรุปว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความส าเร็จกับการ