Page 342 - kpi20767
P. 342
317
ให้ การสร้างบรรยากาศในการท างาน การมีนโยบายสับเปลี่ยนหมุนเวียนการท างานในหน่วยงานใน
เวลาที่เหมาะสมไม่เร็วหรือนานเกินไป เช่น ในช่วงเวลา 2 ปี เพื่อให้เกิดความรอบรู้ในการท างานและ
เป็นการท างานบุคลากรมีครวามสามารถในการท างานที่หลากหลาย
ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์การ กล่าวคือ บุคลากรของสามกรมฯ มีความเห็นว่า กรมฯ มีการ
ก าหนดล าดับชั้นการบังคับบัญชาที่ชัดเจน มีลักษณะโครงสร้างองค์การที่ไม่ซับซ้อน มีกฎระเบียบ
และข้อบังคับในการปฏิบัติงานเพื่อให้การด าเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและ
พัฒนาระบบการบริหารจัดการบรรลุเป้าหมาย มีการปรับโครงสร้างเพื่อท างานให้ส าเร็จตาม
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลพัฒนาการบริหาร อย่างไรก็ตามผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า
ตามความเห็นของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นที่ต้องพบกับอุปสรรคในการท างานเนื่องจากการ
ขาดโครงสร้างการบริหารในระดับอ าเภอ “ท้องถิ่นอ าเภอ”ท าหน้าที่เชื่อมการท างานระหว่างองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีจ านวนมากในแต่อ าเภอกับนายอ าเภอ ท าให้การท างานไม่มีประสิทธิภาพ
เช่นเดียวกับกรมการท่องเที่ยว และกรมกิจการผู้สูงอายุ ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างองค์การไม่แตกต่างกัน
คือ ไม่มีหน่วยงานระดับอ าเภอ อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่การเพิ่มจ านวนบุคลากรไม่สอดคล้องกับ
นโยบายเรื่องการปฏิรูประบบราชการ ดังนั้น ทางออกในการแก้ปัญหาการท างานของกรมทั้งสามกรม
จึงต้องอาศัย “การท างานแบบเครือข่าย” อาศัยภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพมาก
ขึ้น เช่น กรมกิจการผู้สูงอายุ ต้องสร้างความเข้มแข็งให้ชมรมผู้สูงอายุ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อน
การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่ติดสังคม ในขณะเดียวกันก็ต้องเพิ่มจ านวนและสนับสนุนอาสาสมัคร
ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงและติดบ้านให้มากขึ้น โดยเฉพาะ
การสรรหาอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านที่ยังแข็งแรงและอยู่ในวัยท างาน อีกทั้งการแสวงหา
หน่วยงานเอกชนเป็นพันธมิตรเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผลักดันให้หน่วยงานเอกชน
รับผู้สูงอายุเข้าท างานในต าแหน่งที่เหมาะสมให้มากขึ้น สอดคล้องกับแนวคิดของ Edwards III (1980)
ที่กล่าวว่า โครงสร้างระบบราชการ (Bureaucratic Structure) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการน า
นโยบายไปปฏิบัติ โดยการแบ่งส่วนงานขององค์การและมาตรฐานของระเบียบการปฏิบัติขององค์การ
อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการประสานงานในการน านโยบายไปปฏิบัติได้ โดยสอดคล้องกับผลการศึกษา
ของ วรชัย สิงหฤกษ์ และประสพชัย พสุนนท์ (2559) เรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการน าหลักธรรมาภิบาล
มาใช้ในการบริหารจัดการของชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จ ากัด ที่พบว่าปัจจัยความ
เหมาะสมด้านโครงสร้างของหน่วยงาน มีอิทธิพลต่อความส าเร็จของการน าหลักธรรมาภิบาลมาใช้ใน
การบริหารจัดการของชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทยจ ากัด และผลการศึกษาของ สุเมธ
แสงนิ่มนวล (2557) เรื่องต้นแบบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยซึ่ง
พบว่า การจัดโครงสร้างองค์การเป็นปัจจัยซึ่งมีผลต่อความส าเร็จในการบริหารจัดการขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยเช่นกัน