Page 317 - kpi20767
P. 317

292



                       ท าให้เกิดความตื่นตัวด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รัฐบาลประกาศให้ปี 2533-2535 เป็น “ปีแห่งการ
                       พิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” และมีมติคณะรัฐมนตรีประกาศให้วันที่ 4 ธันวาคม ของ

                       ทุกปีเป็น “วันสิ่งแวดล้อมไทย” และมีนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความส าคัญกับการมีส่วน

                       ร่วมของประชาชนในพื้นที่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจึงได้ก่อตั้ง “โครงการอาสาพัฒนา
                       สิ่งแวดล้อม” ด าเนินการฝึกอบรม สร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนและสร้างกลุ่มอาสาสมัคร

                       สิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นที่มาของ “อาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม” หรือ “อสว.” ได้

                       ด าเนินการเรื่อยมา ในปี 2545 เกิดแนวคิดการรวมกลุ่มพลังทางสังคมที่ท างานด้านสิ่งแวดล้อมใน
                       รูปแบบ “เครือข่าย” โดยได้ริเริ่มด าเนินกิจกรรมในรูปแบบ “เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์

                       สิ่งแวดล้อม”


                              ในปี พ.ศ. 2548 - 2549 ได้มีการปรับรูปแบบ แนวทางการด าเนินงานและบทบาทหน้าที่

                       เครือข่ายอาสาสมัครให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนชื่อ “เครือข่าย

                       อาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็น “เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                       หมู่บ้าน” หรือ “เครือข่าย ทสม.” และเรียกชื่อตัวอาสาสมัครว่า “ทสม.” ในปี พ.ศ. 2550 กระทรวง

                       ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ประกาศใช้ “ระเบียบว่าด้วยอาสาสมัครพิทักษ์

                       ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน พ.ศ. 2550” มีเจตนารมย์รองรับและสนับสนุนการ
                       ท างานของภาคประชาชน เชื่อมประสานการท างานร่วมกันจนเป็น เครือข่าย ทสม. และในช่วงเวลา

                       เดียวกันมีมติคณะรัฐมนตรี ประกาศให้ “วันที่ 4 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวัน ทสม.แห่งชาติ” ต่อมามี

                       การปรับปรุงระเบียบฯ พ.ศ.2550 ให้มีความสอดคล้องและเพื่อเป็นการพัฒนาการด าเนินงาน
                       เครือข่าย ทสม.ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2558 จึงมีประกาศใช้ “ระเบียบว่าด้วย

                       อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน พ.ศ.2558 ” ขึ้น ทสม. จึงเป็นการเปิด

                       โอกาสให้ประชาชนเข้ามาเป็นอาสาสมัครร่วมกับรัฐในการดูแลสิ่งแวดล้อม


                              5. หลักความรับผิด

                                     กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีการก าหนดตัวชี้วัดในการท างาน ทั้งนี้ ระหว่างปี
                       พ.ศ. 2555-2559 (ตามกรอบเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11) กรม

                       ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมก าหนดให้ "การบริโภคสีเขียว" (Green Consumption) เป็นประเด็น

                       หลักของแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดผลงานเชิงประจักษ์อย่างเป็น
                       รูปธรรม โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ "ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาก

                       ขึ้น" และมีตัวชี้วัด ประกอบด้วย
   312   313   314   315   316   317   318   319   320   321   322