Page 316 - kpi20767
P. 316
291
ของประชาชนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม 3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือและส่งเสริมการมีส่วน
ร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และ 4) ศึกษา วิจัย รวบรวม พัฒนาสารสนเทศ
องค์ความรู้และนวัตกรรมในการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ในการด าเนินงานตามหลักนิติธรรม กรมมีกลยุทธ์ในการด าเนินงาน คือ 1.เป็น
ศูนย์กลางข้อมูลที่ด าเนินการจัดท าข้อมูล รวบรวมข้อมูล กระจายข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศ
ด้านสิ่งแวดล้อม 2. ใช้ระบบการสื่อสารสาธารณะ เป็นช่องทางในการด าเนินงานส่งเสริมคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมกับทุกภาคส่วนในสังคมอย่างกว้างขวาง 3. ส่งเสริมอาสาสมัครในการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ พร้อมทั้งบุคลากรหลักและผู้น า
เครือข่ายเพื่อเป็นผู้น าการเปลี่ยนแปลง Change Agent 4. พัฒนาศักยภาพของพื้นที่ต้นแบบ / ศูนย์
เรียนรู้ เพื่อให้เกิดการขยายผลในวงกว้าง 5. ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการและบูรณาการให้ตอบ
โจทย์ยุทธศาสตร์กรม รวมทั้งต่อยอดให้สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs และ Thailand 4.0 และ 6.
พัฒนาเครื่องมือ / กลไกในเชิงนวัตกรรมใหม่ด้านการมีส่วนร่วม การบรรลุภารกิจและกลยุทธ์ดังกล่าว
กรมต้องรับผิดชอบพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
2. หลักคุณธรรม
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีค่านิยมหลักขององค์การ คือ สื่อสารดี มีจิตสาธารณะ
พร้อมพัฒนา และสร้างคุณค่าให้สังคม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้จัดท าสื่อประชาสัมพันธ์
การเสริมสร้างวินัยแก่บุคลากรในหน่วยงาน และให้ความส าคัญในการรักษาวินัย จ านวน 5 เรื่อง
ประกอบด้วย วินัยเข้าประชุม วินัยเข้าอบรม วินัยจราจร วินัยในการเข้าแถว และวินัยการคัดแยกขยะ
3. หลักความโปร่งใส
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีโครงการอบรม
ต่อต้านการทุจริตและผลประโยชน์ทับซ้อน เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจ มีการปฏิบัติตนที่
ถูกต้องและมีจิตส านึกที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องการป้องกันการทุจริต การป้องกันมิให้เกิด
ประโยชน์ทับซ้อน ในหัวข้อ "การต่อต้านการทุจริต และผลประโยชน์ทับซ้อน วิเคราะห์ความเสี่ยง
ขั้นตอน แนวทางการปฏิบัติงานหรือระเบียบเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน" พร้อมจัดแสดง
นิทรรศการการด าเนินงานของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสมาชิกเครือข่ายภาครัฐต่อต้าน
การทุจริต เป็นต้น
4. หลักการมีส่วนร่วม
จากภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2531-2532 ในพื้นที่ภาคใต้ที่มี
สาเหตุส่วนส าคัญเกิดจากการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่มีข้อจ ากัด เป็น
เหตุให้ต้องสูญเสียชีวิตประชาชน ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนทรัพย์สินต่างๆอย่างประเมินค่าไม่ได้