Page 246 - kpi20767
P. 246

221



                                                            บทที่ 5


                                                    ผลการวิเคราะห์ข้อมูล




                           กรมบังคับคดี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม



                               การวิจัยเรื่อง “ความท้าทายในประเด็นธรรมาภิบาลกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ” ใน
                       ครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ

                       (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์
                       เพื่อศึกษา 1) ระดับการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการ

                       บริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ 2) การเปรียบเทียบระดับการด าเนินงาน

                       ตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล
                       จ าแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการ

                       ปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ 5) สภาพ

                       ปัญหาและอุปสรรคในการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ และ 5) แนวทางในการประยุกต์ใช้หลักธรร
                       มาภิบาลเพื่อพัฒนาการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการ

                       บริหารจัดการขององค์การภาครัฐ

                               ทั้งนี้ เพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นไปตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการวิจัย
                       ผู้ศึกษาวิจัยขอเสนอล าดับการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

                                 5.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ

                                 5.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ


                       5.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ


                               ผู้วิจัยมีตามล าดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ ดังนี้

                                   ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

                                   จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จ านวน 306 ตัวอย่าง ซึ่งได้รับข้อมูล
                       กลับคืนจ านวน 306 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของจ านวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดในการวิจัยครั้ง

                       นี้ ผู้ศึกษาวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปดังแสดงในตารางที่ 5.1- 5.6 ดังนี้
   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251