Page 108 - kpi20767
P. 108
83
เพื่อตอบปัญหาของการวิจัย แล้วจึงต่อด้วยการอธิบายผลของการวิจัยให้กระจ่างยิ่งขึ้น ดังแสดงใน
ภำพที่ 3.1 ดังนี้
Quantitative Data Quanlitative Data Interpretation
Collection and Follow up with Collection and
Analysis Analysis
ที่มำ : Creswell, 2013; Johnson, Onwegbuzie and Turner ,2007
โดยการวิจัยระยะที่ 1 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณนั้น เป็นการวิจัยเพื่อแสวงหาความรู้ความ
จริงที่ใช้พยากรณ์แนวโน้ม และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ที่สนใจ โดยเริ่มต้นด้วยการ
ก าหนดค าถาม และสมมุติฐานอย่างเจาะจง มีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก
กลุ่มตัวอย่างที่สุ่มจากประชากร มีการน าข้อมูลที่ได้รับไปท าการวิเคราะห์เพื่อให้ได้รับผลการวิจัยในรูป
ตัวเลขที่สามารถวัดค่าได้จากเครื่องมือโดยใช้วิธีการทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานในการตอบค าถาม
การวิจัย และน าเสนอรายงานวิจัยในรูปแบบมาตรฐานที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นปรนัยและความไม่
ล าเอียงของนักวิจัย
ส่วนการวิจัยระยะที่ 2 นั้น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อตรวจสอบหรือยืนยันความถูกต้อง
เชื่อถือได้ของผลการวิจัยที่ได้รับจากการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีการเติมเต็มขยายความ หรือเพิ่มพูน
ความครบถ้วนสมบูรณ์ของผลการวิจัยที่ได้ (Complementary) เพื่อขยายขอบเขตความกว้างและ
ความลุ่มลึกของการวิจัยเชิงปริมาณให้เกิดความเข้าใจดียิ่งขึ้น (Expansion) ซึ่งจะน าไปสู่การค้นหา
ข้อสรุปความรู้ทั่วไป และ/หรือสรรค์สร้างความรู้ความเข้าใจใหม่ ต่อไป
3.2 กำรวิจัยเชิงปริมำณ
การวิจัยเชิงปริมาณนี้เป็นการวิจัยระยะที่ 1 เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อ 1-3 กล่าวคือ เพื่อ
ศึกษาระดับการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร
จัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ เปรียบเทียบระดับการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์
ชาติในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล จ าแนกตาม
องค์การภาครัฐ และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับ
สมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ โดยมี
รายละเอียดของระเบียบวิธีการวิจัย ดังนี้