Page 107 - kpi20767
P. 107
82
บทที่ 3
วิธีด ำเนินกำรวิจัย
โครงการวิจัยเรื่อง “ความท้าทายในประเด็นธรรมาภิบาลกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ”
ในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีด าเนินการวิจัยแบบผสม (Mixed Research Methodology) ซึ่งผู้วิจัยก าหนด
วิธีด าเนินการวิจัยไว้ 2 ระยะ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Methodology)
เป็นการวิจัยระยะที่ 1 และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology) เป็นการ
วิจัยระยะที่ 2 ซึ่งมีวิธีด าเนินการวิจัยที่ใช้ในการวิจัยแต่ละระยะดังนี้
3.1 รูปแบบการวิจัย
3.2 การวิจัยเชิงปริมาณ
3.3 การวิจัยเชิงคุณภาพ
3.4 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
3.5 ล าดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
3.3 สรุปวิธีด าเนินการวิจัย
3.1 รูปแบบกำรวิจัย
การวิจัยเรื่อง “ความท้าทายในประเด็นธรรมาภิบาลกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ” ใน
ครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research Methodology) ซึ่งเป็นการวิจัยที่ออกแบบขึ้นโดยใช้
การผสมผสานระหว่างวิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
รวมทั้งบูรณาการและสรุปอ้างอิงผลการวิจัยไปสู่บริบทอื่น โดยใช้ผลการวิจัยจากวิธีหนึ่งไปใช้เป็นใน
การยืนยันความถูกต้อง และอธิบายขยายความของผลการวิจัยอีกวิธีหนึ่งภายใต้ฐานคติเชิงปรัชญา
ตามกระบวนทัศน์แบบปฏิบัตินิยม (Johnson, Onwegbuzie and Turner, 2007; Tashakkori &
Teddlie, 2008) โดยในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมครึ่งต่อครึ่งแบบ 2 ภาค (Two-phase
Design) ซึ่งเป็นการวิจัยในรูปแบบที่มีการแยกวิธีด าเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ หรือ 2 ขั้นตอนอย่าง
ชัดเจนด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน (การผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพแบบครึ่ง
ต่อครึ่ง) แล้วจึงน าเสนอผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ตอนโดยเอกเทศ โดยในแต่ละระยะหรือขั้นตอนจะ
ตอบค าถามของการวิจัย และ/หรือวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ต่างประเด็นกันโดยมีบทสรุปเป็นตัว
เชื่อมโยงการวิจัยทั้งสองตอนเข้าด้วยกัน (Creswell & Clark, 2007; Creswell, 2015) ซึ่งในการวิจัย
ครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ท าการวิจัยแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย โดยช่วงแรกจะเป็นการวิจัยเชิงปริมาณก่อน