Page 109 - kpi20767
P. 109

84


                              3.2.1  หน่วยในการวิเคราะห์

                                  หน่วยในการวิเคราะห์นี้ ได้แก่ องค์การภาครัฐซึ่งเป็นส่วนราชการระดับกรมหรือ

                       เทียบเท่าที่มีประเด็นความท้าทายเรื่องธรรมาภิบาลในองค์กรจ านวน 6 หน่วยงาน โดยพิจารณา
                       ประเด็นความท้าทายเรื่องธรรมาภิบาลจากส่วนราชการระดับกรมที่มีค่าคะแนนคุณธรรมและความ

                       โปร่งใสในการด าเนินงานในปี 2560 ไม่ผ่านเกณฑ์ และหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์ธรรมาภิบาล  จ านวน

                       147 หน่วยงาน (ส านักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ, 2561) โดยจะ
                       ท าการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับสลากรายชื่อองค์การภาครัฐระดับ

                       กรมที่ไม่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าวจ านวน 3 หน่วยงาน และกรมที่ผ่านเกณฑ์ 3 หน่วยงาน เพื่อเลือกตัวแทน

                       หน่วยตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ผลการจับสลากรายชื่อองค์การภาครัฐจ านวน 3 ครั้ง ได้รายชื่อ
                       องค์การภาครัฐ ดังนี้

                                    1) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (ITA = 79.02; ไม่ผ่านเกณฑ์)

                                    2) กรมกิจการผู้สูงอายุ (ITA = 73.89; ไม่ผ่านเกณฑ์)
                                    3) กรมการท่องเที่ยว (ITA = 73.85; ไม่ผ่านเกณฑ์)

                                    4) กรมบังคับคดี (ITA = 96.08; ผ่านเกณฑ์

                                    5) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ITA = 90.00; ผ่านเกณฑ์)
                                    6) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ITA = 92.13; ผ่านเกณฑ์)


                              3.2.2  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                                  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บุคลากรสังกัดองค์การภาครัฐระดับกรมที่มี

                       ประเด็นความท้าทายเรื่องธรรมาภิบาลในองค์กร ได้แก่ 1) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 2) กรม
                       กิจการผู้สูงอายุ และ 3) กรมการท่องเที่ยว จ านวนประชากรรวมทั้งสิ้น 5,113 คน โดยมีรายละเอียด

                       ของแต่ละหน่วยงาน ดังนี้ (ส านักงาน ก.พ., 2560: 61-62, 70)

                                    1) ข้าราชการสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  จ านวน  3,135  คน
                                    2) ข้าราชการสังกัดกรมกิจการผู้สูงอายุ          จ านวน  139      คน

                                    3) ข้าราชการสังกัดกรมการท่องเที่ยว           จ านวน  142        คน

                                    4) ข้าราชการกรมบังคับคดี                 จ านวน  1,067  คน
                                    5) ข้าราชการกรมพัฒนาธุรกิจการค้า            จ านวน  380         คน

                                    6) ข้าราชการกรมสส่งเสริมคุรภาพสิ่งแวดล้อม      จ านวน  250      คน

                                  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรสังกัดองค์การภาครัฐระดับกรมที่มี
                       ประเด็นความท้าทายเรื่องธรรมาภิบาลในองค์การ โดยก าหนดขนาดตัวอย่างโดยการใช้โปรแกรม

                       ค านวณกลุ่มตัวอย่าง G*Power (Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G. and Buchner, A., 2007)
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114