Page 111 - kpi20767
P. 111

86


                       ตำรำงที่ 3.3 การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างไม่เป็นสัดส่วน

                                    หน่วยงำน/องค์กำรภำครัฐ              ประชำกร (N)       กลุ่มตัวอย่ำง (n)

                        1. กรมบังคับคดี                                    1,067               102
                        2. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า                             380                102
                        3. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม                     250                102


                              ในการแบ่งชั้นภูมินี้ ผู้วิจัยได้เลือกใช้การแบ่งชั้นภูมิแบบไม่เป็นสัดส่วน โดยก าหนดให้กลุ่ม

                       ตัวอย่างในแต่ละชั้นภูมิมีขนาดเท่าๆ กัน เพื่อป้องกันความแปรปรวนที่จะเกิดขึ้นจากความแตกต่าง

                       ของจ านวนกลุ่มตัวอย่างซึ่งมีขนาดต่างกันมาก (Hair, Black, Babin, Anderson, and Tatham,
                       2006) เนื่องจากหากใช้การแบ่งขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเป็นสัดส่วนกับจ านวนประชากรซึ่งมีจ านวน

                       แตกต่างกันมากเกินไป (หรือมีจ านวนต่างกันตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป) จะท าให้มีโอกาสในการเกิด

                       ความแปรปรวนทั้งภายในและระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบเพิ่มมากขึ้นจนส่งผลให้การ
                       ประมาณค่าความคลาดเคลื่อนของพารามิเตอร์เกิดความคลาดเคลื่อนมากกว่าที่ควรจะเป็น จนไม่มี

                       ความคงที่ในทุกๆ ค่าการสังเกต ซึ่งจะเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์ตัวแปรพหุคูณ

                       (Hair, Black, Babin, and Anderson, 2010) ดังนั้นในการป้องกันปัญหาการเกิดความคลาดเคลื่อน
                       ของค่าพารามิเตอร์ในแต่ละค่าการสังเกต เมื่อพบว่าจ านวนประชากรในแต่ละชั้นภูมิหรือแต่ละกลุ่ม

                       (Stratified or Cluster) มีจ านวนที่แตกต่างกันมากตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป จึงควรก าหนดจ านวนกลุ่ม

                       ตัวอย่างในแต่ละชั้นภูมิหรือแต่ละกลุ่มโดยใช้แบ่งขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบไม่เป็นสัดส่วน โดยก าหนดให้
                       จ านวนกลุ่มตัวอย่างในแต่ละชั้นภูมิหรือแต่ละกลุ่มมีจ านวนเท่าๆ กันเพื่อป้องกันค่าความคลาดเคลื่อน

                       ของพารามิเตอร์ที่เกิดจากความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดต่างกันมากเกินไปนั่นเอง (Hair,

                       Black, Babin, and Anderson, 2010)
                              หลังจากการก าหนดขนาดตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่างแล้ว ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ

                       (Accidental Sampling) จากผู้ปฎิบัติงานซึ่งมีความเต็มในการตอบแบบสอบถามของแต่ละกรมจน

                       ครบตามจ านวนกลุ่มตัวอย่างที่ได้ก าหนดไว้ทั้ง 612 ตัวอย่าง
                              3.2.3  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                                  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะนี้ มีรายละเอียดของเครื่องมือ ดังนี้
                                  3.2.3.1  ลักษณะทั่วไปของเครื่องมือการวิจัยเชิงปริมาณ

                                  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณนี้ ได้แก่ แบบสอบถามเชิงปริมาณ แบ่งออกเป็น 4

                       ตอน โดยมีรายละเอียดของเครื่องมือในแต่ละตอน ดังนี้
                                     ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จ านวน 4

                       ข้อ โดยลักษณะของเครื่องมือเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) จ านวน 3 ข้อค าถาม และ

                       แบบปลายเปิด (Open-ended) จ านวน 1 ข้อค าถาม
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116