Page 23 - kpi20680
P. 23
บทที่ 1
บทน า
1.1 หลักการและเหตุผล
หลักส าคัญประการหนึ่งของรัฐเสรีประชาธิปไตยที่จะขาดเสียมิได้ คือการคุ้มครองปกป้อง
สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนซึ่งในอีกสถานะคือผู้เป็นเจ้าของอ านาจอธิปไตย (Sovereignty) โดยมี
ผู้แทนของปวงชนเข้ามารับผิดชอบในการใช้อ านาจดังกล่าว การจัดโครงสร้างความสัมพันธ์ทาง
อ านาจระหว่างองค์กรผู้ใช้อ านาจรัฐทั้งหลายให้มีการแบ่งแยก(องค์กร) ผู้ใช้อ านาจต่าง ๆ ออกจาก
กันเพื่อให้เกิดการตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน รวมไปถึงการมีสถาบันตุลาการที่เป็นอิสระ
เพื่อใช้อ านาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดกรณีพิพาททั้งหลาย
การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายภายใต้ระบบที่มีรัฐธรรมนูญเป็น
กฎหมายสูงสุด และการตรวจสอบการใช้อ านาจกรณีหน่วยงานของรัฐละเลยเพิกเฉยต่อหน้าที่หรือ
บกพร่องในการใช้อ านาจหน้าที่ ทั้งที่เป็นการตรวจสอบโดยองค์กรตุลาการ และหรือองค์กร
ตรวจสอบอิสระทั้งหลาย กล่าวได้ว่าการที่องค์กรผู้ใช้อ านาจรัฐทั้งหลายยึดหลักการและใช้อ านาจ
หน้าที่ภายในกรอบขอบเขตที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายก าหนดหากมีการฝ่าฝืนหรือละเมิดต้องมีการ
ตรวจสอบและมีผลให้การใช้อ านาจดังกล่าวต้องสิ้นผลไป เป็นหัวใจส าคัญที่จะน าไปสู่สังคมที่เรียก
ได้ว่าปกครองด้วยกฎหมาย ตามนัยแห่งนิติรัฐหรือนิติธรรม
ส าหรับสังคมไทยแม้ว่ามีความตื่นตัวและตระหนักรู้ในหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชน
กว้างขวางมากขึ้นเมื่อยี่สิบปีที่ผ่านมา ในเชิงโครงสร้างสถาบันนั้นรัฐธรรมนูญได้ก าหนดรับรอง
สิทธิเสรีภาพของประชาชนรวมทั้งสิทธิของชุมชนไว้อย่างกว้างขวาง แต่อย่างไรก็ตาม ในทาง
ปฏิบัตินั้นการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนและชุมชนยังมีข้อจ ากัดหลากหลายประการทั้งใน
เชิงระบบและในเชิงพฤติกรรม การให้ความส าคัญกับมิติเฉพาะด้าน เช่น ฝ่ายประชาชนและชุมชน
ยึดถือสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ ในขณะที่หน่วยงานของรัฐที่มีบทบาทรับผิดชอบในการ
ดูแลคุ้มครองและจัดให้ประชาชนหรือชุมชนได้ใช้สิทธิเสรีภาพ รวมไปถึงดูแลไม่ให้มีการกระท า
หรือการละเว้นกระท าการใด ๆ อันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ยัง
ต้องผูกพันต่อกฎเกณฑ์กติกาอื่น ๆ ดังเช่น กฎหมายและหรือกฎเกณฑ์ระเบียบปฏิบัติที่ยังไม่ได้
แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกหรือออกกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ให้สอดคล้องกับหลักการสาระของ
รัฐธรรมนูญ หรือเงื่อนไขในเชิงการบริหารเช่น งบประมาณและทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิบัติงาน