Page 144 - kpi20542
P. 144
นักสังคมสงเคราะห์ร่วมลงพื้นที่เยี่ยมบ้านในแต่ละครั้ง และจะทำการส่งต่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อ
ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำพูนต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่ฝ่ายสวัสดิการ
จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางเพื่อประสานงานให้หน่วยงานราชการต่างๆ ได้รับทราบถึงปัญหา
ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และร่วมกันพัฒนาเป็นโครงการ Care Giver ในผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีอาการ
ที่น่าเป็นห่วง เป็นต้น
จากการดำเนินการโครงการชมรมอาสาปันสุข ซึ่งมีกิจกรรมการเยี่ยมบ้านและให้กำลังใจ
สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่ผู้ป่วย รวมถึงจัดทำแผนที่ผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ของเทศบาลตำบลอุโมงค์
ร่วมกับผู้ร่วมดำเนินงานจากหลายภาคส่วน จนประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี หัวใจสำคัญคือ
การเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชา
สังคม ในการช่วยกันขับเคลื่อนเกี่ยวกับปัญหาผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ให้สามารถ
มีสุขภาพ สุขภาวะและสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน และที่สำคัญที่สุด คือ การนำวัดเข้ามาเป็น
ส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโครงการ รวมถึงชมรมแม่บ้านในการหาทุนทรัพย์เข้าโครงการชมรม
อาสาปันสุข นอกจากนี้ยังมีการนำแผนงานจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.) มาประยุกต์ใช้ในการจัดทำแผนที่ผู้ป่วยอีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจาก
ภาคส่วนและหน่วยงานต่างๆ จากทั้งภายนอกและภายในชุมชน ร่วมบูรณาการองค์ความรู้ ระบบ
ฐานข้อมูล ทางเลือกในการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม มีการระดมทุนทรัพย์จากหลายภาคส่วน และ
กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
มีการจัดทำตัวชี้วัดเป้าหมายย่อยเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายโดยรวมอย่างชัดเจน ส่งผลให้
โครงการชมรมอาสาปันสุขของเทศบาลตำบลอุโมงค์ประสบความสำเร็จ
ผลการดำเนินงาน
การบูรณาการโครงการชมราอาสาปันสุขของเทศบาลตำบลอุโมงค์ มีภาคีเครือข่ายร่วมกัน
ดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนให้ประสบความสำเร็จ โดยมีการร่วมกันสังเคราะห์กระบวนการแก้ไขถึง
ปัญหาการเพิ่มจำนวนของผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสในชุมชน ความสำเร็จที่เกิดขึ้นของ
โครงการเกิดจากการที่โรงเรียนเทศบาลตำบลอุโมงค์ 1 เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการชมรมอาสา
ปันสุข โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนเทศบาลตำบลอุโมงค์ 1 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มี
พ่อแม่หรือคนในครอบครัวเป็นสมาชิกชมรมอาสาปันสุข และโรงเรียนเทศบาลตำบลอุโมงค์ 1
ได้เข้าร่วมโครงการชมราอาสาปันสุข หลังจากปี พ.ศ. 2557 ซึ่งในช่วงแรกมีนักเรียนเข้าร่วม
โครงการจำนวนไม่เกิน 10 คน ต่อมาได้มีการประชาสัมพันธ์โครงการชมรมอาสาปันสุขมากขึ้น
จึงมีจำนวนนักเรียนเข้าร่วมโครงการมากขึ้น ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 20 คน พัฒนาและต่อยอดเป็น
โครงการชมรม อปส.น้อย เริ่มจากการช่วยเหลือเพื่อนที่เจ็บป่วย หรือมีสุขภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง
ซึ่งต่อมานักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะทำการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านกับสมาชิกโครงการอาสาปันสุข
1 สถาบันพระปกเกล้า