Page 149 - kpi20542
P. 149

การต่อยอดในอนาคต

                            การสร้างความยั่งยืนของโครงการชมรมอาสาปันสุข ประการแรก คือ การเก็บข้อมูล
                      เชิงปริมาณและการบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อนำมาอัพเดทลงในแผนที่ผู้สูงอายุในทุกๆ ปี

                      ทำเป็นข้อมูลสถิติ โดยมีที่ปรึกษาจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมให้ความรู้
                      และแนวทางในการจัดบันทึกข้อมูล อาทิ ข้อมูลครัวเรือน ตำแหน่งบ้านของผู้ป่วยติดเตียงและ

                      ผู้สูงอายุ ตำแหน่งสาธารณสุขในหมู่บ้าน  เป็นต้น นอกจากนี้ยังต่อยอดจากเดิม คือ ริเริ่มในการ
                      พัฒนาเป็นงานป้องกันของเทศบาลตำบลอุโมงค์ และทำเป็นแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ
                      รวมถึงศูนย์คอยติดตามของเทศบาลเอง                                                       ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ


                            ประการที่สอง เทศบาลตำบลอุโมงค์ให้ความสำคัญกับการจัดเก็บข้อมูลและบันทึกข้อมูล
                      เป็นอย่างมาก เนื่องจากจะนำข้อมูลที่ได้ไปต่อยอดวิจัยเป็นองค์ความรู้ ถอดบทเรียน เพื่อที่จะนำ

                      ไปสอนประชาชนในชุมชนให้ได้เรียนรู้ว่าในชุมชนของตนเอง มีผู้ป่วยกี่คน มีผู้สูงอายุ ผู้พิการ และ
                      ผู้ด้อยโอกาสกี่คน นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บมาได้นั้น ก็จะจำแนกตามลักษณะโรคการป่วยของ

                      ผู้ป่วย ซึ่งการบันทึกข้อมูลนั้นเป็นของเทศบาลตำบลอุโมงค์โดยตรง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นกระบวนการ
                      ที่เทศบาลได้เข้าไปเรียนรู้กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เนื่องมาจาก
                      เทศบาลตำบลอุโมงค์ได้เข้าไปเป็นเครือข่ายผู้สูงอายุร่วมกัน


                            ประการที่สาม เทศบาลตำบลอุโมงค์มีการฝึกให้พนักงานและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับ
                      โครงการเป็นนักวิจัยชุมชน โดยเริ่มจากการลงพื้นที่เป็นประจำ เพื่อให้เกิดความคุ้นชินกับชุมชน
                      สถานที่ และประชาชนในชุมชน และร่วมกันเขียนโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับชุมชน เพื่อให้เข้าใจ

                      ในบริบทพื้นที่ จากนั้นเมื่อมีความชำนาญแล้วจึงให้นักวิจัยชุมชนเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงในชุมชน และมี
                      วิทยากรจากทั้งภายในและภายนอกเข้ามาบรรยาย มีการจัดอบรมเกี่ยวกับสาธารณสุขแก่

                      ประชาชนในชุมชน ซึ่งมีผู้เข้ามาทำการสนับสนุนความรู้และวิทยากรจาก คณะพยาบาลศาสตร์
                      มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แล้วจึง
                      นำไปบูรณาการร่วมกับประชาชนในชุมชน สรุปผลและนำเสนอผลงานเป็นรูปเล่มเพื่อสร้างเป็น        กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ

                      นวัตกรรมต่อไป



















                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   1
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154