Page 146 - kpi20542
P. 146

ค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในช่วงการเริ่มโครงการในระยะแรกนั้น ทางครอบครัวของผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ
            ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
                  แต่มีความคิดในทางลบเกี่ยวกับกิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ทั้งนี้เทศบาลและชมรมอาสาปันสุขได้ใช้

                  วิธีการประสานงาน พูดคุยในเรื่องของสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งต่อมาเป็นที่ยอมรับของครอบครัว
                  ผู้ป่วยมากขึ้น แต่ตัวผู้ป่วยเองยังไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์โครงการชมรมอาสาปันสุข ทางเทศบาล
                  จึงจัดหานักกายภาพบำบัด นักวิชาการสาธารณสุข แพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุข

                  ภาพตำบล (รพ.สต.) เข้ามาร่วมดำเนินงาน นอกจากนี้ยังนิมนต์พระจากวัดป่าเห็ว เข้ามาร่วม
                  ในการทำกิจกรรมในแต่ละครั้งเพื่อให้พระสงฆ์ได้ร่วมพูดคุยถึงปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย

                  รวมถึงเป็นขวัญกำลังใจให้ผู้ป่วยมีกำลังใจที่จะเห็นคุณค่าในชีวิตและอยากที่จะอยู่ต่อไป ทำให้
                  การทำกิจกรรมครั้งต่อไปได้รับการตอบรับที่ดี


                        ๏  ประการที่สอง ผู้ป่วยและผู้สูงอายุไม่ทำตามคำแนะนำของแพทย์และบุคคลในครอบครัว
                  โดยเฉพาะในเรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามคำแนะนำแพทย์ และการรับประทานยาให้
                  ตรงเวลา ซึ่งบางครั้งผู้ป่วยเกิดความเบื่อหน่ายและละเลยการรับประทานอาหารที่ถูกต้องและ

                  ที่สำคัญ ละเลยการรับประทานยาให้ตรงตามเวลา ชมรมอาสาปันสุขและบุคลากรทางการแพทย์
                  ที่เข้ามาดูแลนั้น ก็จะอาศัยกองสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ และนิมนต์พระ ให้มาช่วยเป็น

                  สื่อกลางในการพูดคุย เพื่อให้ผู้ป่วยรักษาสุขภาพของตนเองโดยการทานอาหารและยาตามเวลา

            กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
                        ๏  ประการที่สาม การดำเนินงานโครงการชมรมอาสาปันสุข เริ่มแรกนั้นยังไม่ประสบ
                  ความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากในการลงพื้นที่แต่ละครั้ง ไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน
                  ในชุมชน ครอบครัวของผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสไม่ยินยอมให้ความร่วมมือแก่โครงการ
                  และเทศบาล นอกจากนี้ ยังมีประชาชนในท้องถิ่นตั้งอคติอีกด้วย โดยคิดว่าเป็นการสร้างภาพของ

                  เทศบาลตำบลอุโมงค์และโครงการชมรมอาสาปันสุข ทั้งนี้ ภายหลังกลับประสบความสำเร็จ
                  เป็นอย่างมาก ซึ่งเทศบาลตำบลอุโมงค์ได้แสดงให้เป็นที่ประจักษ์ โดยในระยะแรกเริ่มโครงการ

                  มีการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเพื่อทำกิจกรรมบ่อยครั้ง เช่น ทุกวันพฤหัสบดีของทุกเดือน เป็นต้น
                  นอกจากนี้ยังมีกระเช้า และของฝาก รวมถึงอุปกรณ์การแพทย์ไปสมทบแก่ผู้ป่วยตามบ้านอีกด้วย
                  นอกจากนี้ในเรื่องทุนทรัพย์และงบประมาณที่สนับสนุนยังเป็นข้อสงสัยของประชาชนในชุมชน

                  ในระยะแรก ซึ่งทางเทศบาลตำบลอุโมงค์ก็ได้จัดทำเป็นเอกสารราชการและก่อตั้งเป็นกองทุน
                  ชมรมอาสาปันสุขขึ้น ซึ่งเมื่อทำกิจกรรมบ่อยครั้ง ประชาชนในพื้นที่ก็จะเริ่มมีความคุ้นเคยแก่

                  สมาชิกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหลังจากการดำเนินกิจกรรมโครงการชมรมอาสาปันสุขไประยะหนึ่ง
                  ประชาชนในพื้นที่ก็จะบอกต่อกันจากปากต่อปาก กลายเป็นยอมรับ และผันตัวเข้ามาเป็นสมาชิก
                  โครงการชมรมอาสาปันสุขนั่นเอง








                1 0   สถาบันพระปกเกล้า
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151