Page 147 - kpi20542
P. 147

๏  ประการสุดท้าย อุปสรรคในการทำกิจกรรมของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลอุโมงค์ 1
                      ในการทำกิจกรรมโครงการชมรมอาสาปันสุขนอกสถานที่ ซึ่งนอกจากการเรียนที่โรงเรียนแล้วยังมี

                      กิจกรรมทางบ้าน ซึ่งทำให้เด็กและเยาวชนที่เป็นสมาชิกโครงการ หรือ อปส.น้อย อาจไม่ค่อยมี
                      เวลามาทำกิจกรรม ซึ่งการแก้ไขปัญหานี้เทศบาลตำบลอุโมงค์ และโครงการชมรมอาสาปันสุขได้มี
                      วิธีการแก้ไขปัญหา โดยการหาเวลาวันหยุดนักขัตฤกษ์ร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกัน


                      ปัจจัยความสำเร็จ

                            1. โครงการชมรมอาสาปันสุขมีปัจจัยความสำเร็จจากเครือข่ายที่เพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ
                      เทศบาลตำบลอุโมงค์ ชมรมแม่บ้านตำบลอุโมงค์ คณะกรรมการโครงการชมรมอาสาปันสุข และ           ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ

                      วัดป่าเห็ว ได้เข้ามาเป็นเครือข่ายในการดำเนินกิจกรรม เพราะเล็งเห็นถึงปัญหาของผู้ป่วยติดเตียง
                      ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ก่อนหน้านี้ไม่มีความสุข สภาพแวดล้อมที่ไม่น่าอยู่อาศัย มีสิ่งปฏิกูลและส่งกลิ่น

                      รบกวน นอกจากนี้ยังมีภาวะซึมเศร้าเนื่องจากไม่ได้รับความใส่ใจจากครอบครัวและเพื่อนบ้าน
                      ซึ่งหลังจากการริเริ่มโครงการ ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสมีความสุขและมีอาการดี
                      ขึ้นอย่างชัดเจน สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบ้านน่าอยู่อาศัย ทำให้ลูกหลานและคน

                      ในครอบครัวจากที่ไม่ใส่ใจหันกลับมาให้ความใส่ใจมากยิ่งขึ้น รวมถึงมีการทำกิจกรรมต่อเนื่อง
                      มาตั้งแต่ริเริ่มโครงการ จากวันแรก 14 กุมภาพันธ์ 2557 จนถึงปัจจุบัน ประชาชนในชุมชน

                      ให้ความร่วมมือ สามัคคี และร่วมกันทำกิจกรรมจนกลายเป็นหน้าที่ รวมถึงร่วมกันบริจาคทุน
                      ทรัพย์ต่างๆ เพื่อร่วมกันซื้อกายอุปกรณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิด
                      กิจกรรมใหม่ๆ ได้แก่ กิจกรรม อปส.น้อย ของโรงเรียนเทศบาลตำบลอุโมงค์ 1 อีกด้วย ซึ่งอาการ

                      ของผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้น พูดได้ ผู้ป่วยบางคนสามารถเดินได้อีกด้วย

                            2. ปัจจัยความสำเร็จเกิดเป็นโครงการ “ยกวัดมาไว้บ้าน” ซึ่งเกิดจากเทศบาลตำบลอุโมงค์

                      และสมาชิกโครงการชมรมอาสาปันสุขเล็งเห็นความต้องการของผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุที่ไม่
                      สามารถเดินทางได้สะดวก จึงนิมนต์พระสงฆ์จากวัดป่าเห็ว มาให้พร สวดมนต์ เทศนา แก่ผู้ป่วย
                      ซึ่งผู้ป่วยติดเตียงนั้นมีความต้องการเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังมีการทำบุญ กรวดน้ำ ที่บ้านพัก    กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ

                      อีกด้วย การบูรณาการร่วมกันของวัดป่าเห็ว เทศบาลและชมรมอาสาปันสุขเป็นไปอย่างราบรื่น
                      ซึ่งมีจุดประสงค์ให้ผู้ป่วยสามารถปลงได้ และสนับสนุนให้พึ่งตนเอง เห็นคุณค่าในชีวิตของตนเอง

                      ไม่หดหู่เหมือนเช่นเคย ซึ่งทางวัดป่าเห็วจะสอดแทรกเรื่องการให้กำลังใจผู้ป่วย ให้ข้อคิด หลักธรรม
                      สร้างความปรองดองและเชื่อมผู้ป่วย ครอบครัวเข้ากับเทศบาลและโครงการชมรมอาสาปันสุข


                            3. ปัจจัยความสำเร็จของเทศบาลตำบลอุโมงค์ ที่มีวัตถุประสงค์และความตั้งใจแน่วแน่ที่จะ
                      พัฒนาและหาทางออกเกี่ยวกับปัญหาผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ให้มี
                      สุขภาพพลานามัยที่ดีขึ้น ช่วยเหลือตนเองได้ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้




                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   1 1
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152