Page 148 - kpi20542
P. 148
(1) วัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วยและผู้สูงอายุ มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ไม่ถูกทอดทิ้งให้โดดเดี่ยว
ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
(2) เทศบาลตำบลอุโมงค์สร้างนักสังคมสงเคราะห์พื้นบ้าน เพื่อความเข้าใจในพื้นที่ และใส่ใจ
กับปัญหาในชุมชนท้องถิ่นต่อความต้องการของผู้ป่วยและผู้สูงอายุในท้องถิ่น
(3) เทศบาลตำบลอุโมงค์ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นตระหนักต่อปัญหาที่เกิดขึ้นและ
มีส่วนร่วมด้วยช่วยกันในการดูแลตนเอง โดยเฉพาะปัญหาผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ
ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส
(4) เทศบาลตำบลอุโมงค์ขยายผลการทำงาน โดยให้สมาชิกโครงการชมรมอาสาปันสุข
ส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างยั่งยืน
(5) นายกเทศมนตรีตำบลอุโมงค์และผู้นำชุมชน มีความชำนาญการและมีความมุ่งมั่นในการ
แก้ไขปัญหา
(6) การจัดทำแผนที่ผู้สูงอายุชุมชนเชิงลึก กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบล
อุโมงค์จะนำไปพัฒนาและต่อยอดในการทำวิจัยถอดบทเรียน
(7) การมีส่วนร่วมของทุกองค์กร ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม กับ
ประชาชนในพื้นที่ จะเน้นเรื่องการสร้างความเป็นเจ้าของของประชาชนในชุมชน ให้เป็น
กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
สมบัติที่คนในชุมชนจะต้องมีหน้าที่ช่วยกันรักษา
(8) เทศบาลตำบลอุโมงค์จะเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ ชมรมแม่บ้านตำบลอุโมงค์ และประชาชน
ในชุมชนที่ต้องการเรียนรู้วิธีการช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลง
ผู้นำท้องถิ่น โครงการนี้ก็ยังจะคงอยู่อย่างยั่งยืน
(9) มีการประชาสัมพันธ์ การบริหารจัดการที่ดีของระบบการทำงานการมีส่วนร่วมทุก
ภาคส่วนและนำมาบูรณาการร่วมกันอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังมีการขยายกลุ่ม
สมาชิกโครงการชมรมอาสาปันสุขอีกด้วย
(10) เทศบาลตำบลอุโมงค์มีการประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมประจำทุกเดือน
เพื่อรับทราบความสำเร็จและปัญหาจากโครงการชมรมอาสาปันสุข และโครงการ
ต่อยอดอื่นๆ
(11) ถึงแม้ว่าโครงการชมรมอาสาปันสุขจะไม่มีเงินปันผลตอบแทน แต่สมาชิกชมรมอาสา
ปันสุขก็ยินดีที่จะมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกับชมรมและเทศบาล ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว
สมาชิกจะเป็นข้าราชการเกษียณอายุ
1 2 สถาบันพระปกเกล้า