Page 141 - kpi20542
P. 141

2)  เพื่อให้ครอบครัวและชุมชนเกิดความตระหนักในการดูแลผู้ถูกทอดทิ้ง

                            3)  เพื่อพัฒนาศักยภาพสมาชิกชมรมอาสาปันสุขในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และ

                               ผู้ด้อยโอกาส

                            4)  เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ด้อยโอกาส ที่ได้รับการดูแล สามารถดำรง

                               ตนอยู่ร่วมกับครอบครัวและชุมชนได้อย่างปกติสุข และมีความเชื่อมั่นว่าจะไม่ถูกทอดทิ้ง

                            5)  เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เป็นจิตอาสาทำความดีเพื่อชุมชน


                            6)  เพื่อให้เกิดการจัดการตนเองของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง และ     ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
                               ผู้ด้อยโอกาส


                            7)  เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างเทศบาลตำบลอุโมงค์และหน่วยงานภาครัฐ
                               ภาคเอกชน เพื่อดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ด้อยโอกาส

                            เริ่มแรกได้ทำการประชุมหารือ ณ วัดป่าเห็ว จากนั้นจึงได้มีการเปลี่ยนมายังเทศบาลตำบล

                      อุโมงค์ และจะนัดรวมตัวกัน เวลา 12.00 น. เพื่อจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ในการรับสมัครสมาชิก
                      ชมรมอาสาปันสุขมีการรับสมัครสมาชิกชมรมอาสาปันสุข จำนวน 20 คน ทางเทศบาลได้กำหนด
                      หลักฐานการสมัคร คือ ใบสมัคร สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น

                      แต่มีผู้มาสนใจสมัครสูงถึง 120 คน ซึ่งประชาสัมพันธ์โครงการผ่านงานบุญของวัดป่าเห็ว กำนัน
                      ผู้ใหญ่บ้าน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จากนั้นจึงประชุมหารือเพื่อวางแผน

                      การดำเนินงาน นอกจากนี้ยังมีกฎให้สมาชิกทำตาม เพื่อความสามัคคีของสมาชิกชมรมอาสาปันสุข
                      จำนวน 4 ข้อ คือ 1) งดการพูดคุยเรื่องการเมือง 2) งดการพูดถึงเรื่องความเชื่อส่วนบุคคล
                      3) งดการพูดเปรียบเทียบศาสนา และ 4) งดการพูดถึงเรื่องการเงิน เนื่องจากเงินที่ได้จะต้องนำเข้า

                      โครงการชมรมอาสาปันสุข เพื่อนำไปซื้ออุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น นอกจากนี้โรงพยาบาล
                      ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ยังเป็นหน่วยงานสำคัญที่ช่วยในการส่งเสริมและสอนวิธีการ      กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ

                      ตรวจสุขภาพให้แก่สมาชิกชมรมอาสาปันสุขอีกด้วย

                            แผนที่ผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลอุโมงค์ เป็นแผนที่ผู้สูงอายุประจำหมู่บ้าน เนื่องจาก

                      หน่วยงานของ อสม. ได้ทำการสำรวจเพิ่มเติมทุกปี และยังมีการจัดอบรมบุคลากร เป็นระยะเวลา
                      2-3 วัน ประจำทุกไตรมาส เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน โดยการทำกิจกรรมชมรม
                      อาสาปันสุขนั้นคือการที่สมาชิกได้ทำการเยี่ยมบ้านของผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียง ให้ได้

                      พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด รวมถึงเป็นการสร้างไมตรี ให้การช่วยเหลือแก่ผู้ที่ไม่สามารถ
                      ช่วยเหลือตนเองได้ ในการลงพื้นที่แต่ละครั้งจะมีการประชุมเพื่อหารือ วางแผนการลงพื้นที่ก่อน





                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   1
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146