Page 136 - kpi20542
P. 136

ประชาชน อสม. และตัวแทนจากองค์กรต่างๆ ในพื้นที่มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการศูนย์สร้างสุข
            ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
                  ของเทศบาลฯ เป็นต้น


                        ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เทศบาลเมืองแม่เหียะได้ให้ความสำคัญในการสนับสนุน
                  และส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดมา กล่าวคือ

                  ในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมแต่ละกิจกรรมจะต้องผ่านการระดมความคิดเห็นจาก
                  ประชาชนหรือแม้กระทั่งการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของประชาชนในการดำเนินโครงการ
                  ซึ่งตัวอย่างการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนของเทศบาลเมืองแม่เหียะ เช่น การที่กรรมการ

                  หมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจากชมรม
                  ผู้สูงอายุให้มีการต่อยอดและบูรณาการร่วมกันมากขึ้นและได้นำเสนอแนวคิดต่อเทศบาลจนเกิด

                  เป็นกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุขึ้น การเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุที่ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียน
                  ผู้สูงอายุมาร่วมประชุมและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนารูปแบบกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในโรงเรียน
                  ผู้สูงอายุสำหรับรุ่นต่อ ๆ ไป การเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ มีความรู้ ได้เข้ามาเป็น

                  อาจารย์สอนในโรงเรียนผู้สูงอายุ หรือเปิดโอกาสให้ประชาชนหรืออาสาสมัครได้เข้ารับการอบรม
                  เป็นอาสาสมัครฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และเข้ามาร่วมกับเทศบาลฯ ในการดูแล

                  ผู้สูงอายุในศูนย์สร้างสุข เป็นต้น

            กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
                  ปัจจัยความสำเร็จ
                        สำหรับปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินโครงการศูนย์สร้างสุขนั้นมีอยู่หลายปัจจัย
                  ซึ่งปัจจัยที่สำคัญคือ การที่หน่วยงานต่าง ๆ เห็นความสำคัญในการบูรณาการในการดำเนิน

                  โครงการด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุร่วมกัน ซึ่งทำให้การดำเนินงานของเทศบาลเป็นไป
                  ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการร่วมมือของหลายหน่วยงานที่คอยสนับสนุนทั้งด้าน

                  งบประมาณและบุคลากร จนทำให้โครงการศูนย์สร้างสุขของเทศบาลเมืองแม่เหียะประสบ
                  ความสำเร็จ

                  ปัญหาและอุปสรรค

                        สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการศูนย์สร้างสุข เทศบาลพบปัญหาในเรื่อง

                  จำนวนบุคลากรที่มีความรู้ในการทำกายภาพบำบัดให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และผู้พิการ ซึ่งพบว่า
                  เทศบาลมีจำนวนเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการดังกล่าวไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วย อีกทั้งยังมีปัญหา

                  ในเรื่องงบประมาณในการจัดซื้อครุภัณฑ์ในการดำเนินกิจกรรมกายภาพบำบัดบางชิ้นที่มีราคาแพง
                  รวมถึงขั้นตอนในการขออนุมัติงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวที่จะต้องนำโครงการ
                  จัดซื้อจัดจ้าง เข้าไปอยู่ในแผนการใช้จ่ายงบประมาณของเทศบาล ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าในการ

                  ดูแลผู้ป่วย ซึ่งทำให้ศูนย์สร้างสุขต้องส่งตัวผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลในพื้นที่แทน



                1 0   สถาบันพระปกเกล้า
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141