Page 132 - kpi20542
P. 132
ทีมหมอครอบครัวจะต้องมีการพูดคุยกับผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่ายังมีเพื่อน มีที่พึ่งพา หรือ
ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
มีครอบครัวที่คอยดูแลเอาใจใส่อยู่เสมอ และนอกจากการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแล้วทีมหมอ
ครอบครัวยังสำรวจภูมิทัศน์รอบบริเวณบ้านเพื่อดูแลเรื่องความสะอาดเรียบร้อยในบริเวณ เพื่อให้
ผู้สูงอายุได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสำหรับในบางโอกาสทีมหมอครอบครัวจะได้รับ
การสนับสนุนของใช้ที่ได้รับบริจาคจากทางวัดไปให้แก่ผู้สูงอายุที่ยากไร้อีกด้วย
ขั้นตอนที่สี่ หลังจากที่ทีมหมอครอบครัวได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้สูงอายุแล้ว ก็จะนำข้อมูล
การดำเนินงานตรวจเยี่ยมผู้สูงอายุ และข้อมูลผู้สูงอายุรายงานผลส่งให้แก่เทศบาลเก็บรวบรวม
เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุต่อไป
ภายหลังจากการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพของทีมหมอครอบครัว ส่งผลให้เทศบาล
เมืองแม่เหียะตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น ผนวกกับที่
กองทุนระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term
Care : LTC) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณใน
การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงรายละ 5,000 บาท ทำให้เทศบาลมีงบประมาณในการดำเนินงาน
ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมากขึ้น จึงจัดตั้ง “ศูนย์สร้างสุข” หรือ ศูนย์ฟื้นฟู
สมรรถภาพผู้พิการและผู้สูงอายุ ขึ้นเพื่อให้สามารถดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
และยิ่งไปกว่านั้นเมื่อก่อตั้งศูนย์สร้างสุขแล้ว เทศบาลฯ ได้จัดฝึกอบรมสมาชิกทีมหมอครอบครัว
เดิมกว่า 30 ราย เพื่อต่อยอดให้เป็นสมาชิกกลุ่ม Care giver (CG) หรือ อาสาสมัครฟื้นฟูสุขภาพ
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยกลุ่ม CG จะได้รับการฝึกอบรมโดยหลักสูตรจากกรมอนามัยสำหรับการ
ดูแลผู้สูงอายุเฉพาะโดยเฉพาะกว่า 70 ชั่วโมง ทำให้กลุ่ม CG มีศักยภาพและความพร้อมในการ
ดูแลผู้สูงอายุที่ถูกวิธีมากยิ่งขึ้น และเมื่อเทศบาลมีการจัดตั้งศูนย์สร้างสุข กลุ่ม CG จึงกลายเป็น
กำลังหลักในการออกเยี่ยมผู้สูงอายุในหมู่บ้านและนำข้อมูลที่ได้จากการเยี่ยมผู้สูงอายุมาให้กับ
เทศบาลฯ เพื่อเก็บรวบรวมร่วมกับทีมหมอครอบครัวเดิม ทำให้มีการผนึกกำลังที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น
โดยเมื่อมีการค้นพบผู้สูงอายุที่มีสภาวะพึ่งพิง หรือผู้สูงอายุที่ติดเตียง ทางเทศบาล ผู้นำชุมชน และ
กลุ่ม CG ก็จะลงพื้นที่ไปดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน หรือหากอุปกรณ์ในการดูแลที่บ้านไม่สะดวกก็จะนำ
ผู้สูงอายุเหล่านั้นมายังศูนย์สร้างสุขเพื่อดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดต่อไป สำหรับผู้สูงอายุที่ติดสังคม
เทศบาลได้จัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ โดยกองสวัสดิการฯ เทศบาล
เมืองแม่เหียะเป็นผู้สนับสนุนในเรื่องการฝึกอาชีพ กิจกรรมนันทนาการ รวมถึงการให้ความรู้
ภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่นให้แก่ผู้สูงอายุกลุ่มนี้
12 สถาบันพระปกเกล้า