Page 130 - kpi20542
P. 130
ดำเนินการโครงการหมอครอบครัวขึ้นเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีสถานะติดบ้าน ติดสังคม และติดเตียง
ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
โดยเทศบาลได้ปรึกษาหารือผ่านการพูดคุยร่วมกับประชาชนในชุมชนในการหาข้อตกลงร่วมกัน
กว่า 3 เดือนจนได้ข้อสรุปในการดำเนินโครงการ “ทีมหมอครอบครัว” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ
โครงการศูนย์สร้างสุขในเวลาต่อมา โดยสมาชิกทีมหมอครอบครัวประกอบด้วยฝ่ายปกครอง
ในพื้นที่ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมถึง พระสงฆ์ ตัวแทนจากอสม. ตัวแทนผู้สูงอายุ ทีมจาก
เทศบาล และทีมจาก รพ.สต. กระทรวงสาธารณสุข และได้ความร่วมมือจากโรงพยาบาลนครพิงค์
ที่ให้การสนับสนุนบุคลากรมาเป็นพี่เลี้ยงและวิทยากรในการฝึกอบรมทีมหมอครอบครัวให้กับ
เทศบาลฯ
ทีมหมอครอบครัว ปัจจุบันทีมหมอครอบครัวของเทศบาลตำบลแม่เหียะมีจำนวนกว่า
100 คน ซึ่งได้ผ่านการอบรมการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่มีสถานะติดบ้าน ติดเตียง
และติดสังคม เป็นเวลากว่า 3 วัน ซึ่งการรับสมัครทีมหมอครอบครัวนั้น นอกจากสมาชิกที่เป็น
เครือข่ายดังที่ได้กล่าวไปแล้ว เทศบาลฯ ยังได้เปิดโอกาสให้ประชาชนที่มีจิตอาสาเข้ามาสมัครเป็น
สมาชิกทีมหมอครอบครัวอีกด้วย โดยทีมหมอครอบครัวถือเป็นกำลังหลักของเทศบาลฯ ที่จะ
ดำเนินการลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยมและดูแลผู้สูงอายุในชุมชนที่ติดบ้าน ติดเตียง และติดสังคม เพื่อให้
ผู้สูงอายุในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยทีมหมอครอบครัวจะแบ่งหน้าที่ตามที่อยู่ของสมาชิก
แต่ละคน โดยให้รับผิดชอบในแต่ละหมู่บ้านของตนเองและลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุ ซึ่งการลงพื้นที่
กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
ตรวจเยี่ยมผู้สูงอายุนั้น ทีมหมอครอบครัวจะลงไปตรวจเยี่ยมและสอบถามถึงสาเหตุของอาการ
และช่วยหาวิธีแก้ไขให้ อาทิ กรณีผู้สูงอายุที่ติดเตียง ทีมหมอครอบครัวในหมู่บ้านก็จะลงพื้นที่
ตรวจเยี่ยมผู้สูงอายุ และหาสาเหตุว่าเพราะเหตุใดผู้สูงอายุเหล่านั้นถึงมีสถานะติดเตียง และต้องได้
รับการดูแลอย่างไรบ้าง ซึ่งจะสามารถดูแลรักษาได้อย่างใกล้ชิดและทันเวลา สำหรับกรณีผู้สูงอายุ
ที่ติดบ้านนั้น ทีมหมอครอบครัวจะเข้าไปติดตามการออกไปพบหมอเพื่อตรวจสุขภาพร่างกายของ
ผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านจะไม่อยากออกไปนอกบ้านเป็นเวลา
นาน ๆ เนื่องจากมีความรู้สึกห่วงบ้าน เป็นต้น และกรณีผู้ป่วยที่ติดสังคม สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มนี้
เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่เทศบาลจัดขึ้นมากที่สุด
ดังนั้น เทศบาลฯ จึงจำเป็นที่จะต้องหากิจกรรมหรือโครงการให้แก่ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ได้ออกมาทำ
กิจกรรมร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีที่ในหมู่บ้านบางแห่งมีผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลเป็นจำนวน
มากและมีสมาชิกที่หมอครอบครัวที่อยู่ในหมู่บ้านไม่เพียงพอทำให้ไม่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่าง
ทั่วถึง ทางเทศบาลฯ ก็จะแบ่งกำลังจากทีมหมอครอบครัวของอีกหมู่บ้านหนึ่งที่พอจะรับดูแล
ผู้สูงอายุเพิ่มได้มาช่วยอีกแรง ซึ่งในการดำเนินโครงการทีมหมอครอบครัวนั้น เพื่อที่จะให้
12 สถาบันพระปกเกล้า