Page 127 - kpi20542
P. 127

กรณีตัวอย่าง               ดังนั้น โครงการ “ศูนย์สร้างสุข” จึงเป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะศึกษาเป็นตัวอย่างสำหรับ
                      องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ในการดำเนินโครงการที่มุ่งเน้นการบริหารงานอย่างโปร่งใสและ

                      ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานของเทศบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                      การดำเนินงานด้วยความโปร่งใสและมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
                      จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอนาคตได้เป็น

                      อย่างดี อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเจาะลึกเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนกระบวนการและความเป็นมา
                      ของโครงการศูนย์สร้างสุข จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความรู้จักกับเทศบาลเมืองแม่เหียะ เพื่อให้

                      เข้าใจถึงความเป็นมาของโครงการศูนย์สร้างสุข อีกทั้งยังจะเป็นประโยชน์ที่องค์กรปกครอง
                      ส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ที่มีความสนใจในการบริหารงานด้านเดียวกันสามารถใช้เป็นข้อมูลในการ     ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
                      เปรียบเทียบบริบทของพื้นที่และวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงการคาดการณ์ถึงโอกาสในการก้าว

                      ไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเลิศด้านการบริหารงานที่โปร่งใสและมีส่วนร่วมได้ โดยมี
                      รายละเอียดดังนี้


                            เทศบาลเมืองแม่เหียะ ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ 24.405
                      ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมจำนวน 10 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งหมด 19,115 คน มีรายได้ในการ

                      บริหารงานประมาณ 91 ล้านบาทต่อปี (ไม่รวมเงินอุดหนุน เงินกู้ และเงินจ่ายขาดจากเงินสะสม)
                      และได้รับเงินอุดหนุน ประมาณ 18 ล้านบาทต่อปี เทศบาลเมืองแม่เหียะมุ่งเน้นการจัดบริการ
                      สาธารณะให้แก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส ให้ประชาชนมีส่วนร่วม และสามารถ

                      ตรวจสอบได้ และเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดภายใต้บริบทสังคมเมืองที่กำลังขยายตัว
                      เทศบาลเมืองแม่เหียะได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคม

                      จำนวนมากถึง 28 กลุ่ม/องค์กร เช่น ชมรมกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมกีฬาตำบล
                      อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ฯลฯ เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานและดำเนินโครงการ/
                      กิจกรรมต่าง ๆ ที่เทศบาลฯ จัดขึ้น ซึ่งภาคประชาสังคมดังกล่าวสามารถเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้

                      ข้อมูลข่าวสาร แสดงความคิดเห็น ร่วมให้คำปรึกษา ร่วมหารือในการดำเนินโครงการ/กิจกรรม      กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
                      ร่วมตัดสินใจ และร่วมรับผลประโยชน์กับเทศบาลฯ โดยเทศบาลเมืองแม่เหียะมุ่งเน้นสนับสนุนให้

                      ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมใน “4 ร่วม” ดังนี้

                            1) การร่วมรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เทศบาลเมืองแม่เหียะได้เปิดช่องทางให้ประชาชนสามารถ

                      รับรู้ข้อมูลข่าวสารของเทศบาลได้จากหลากหลายช่องทาง ทั้งเสียงตามสาย กลุ่มไลน์ เฟสบุ๊ค
                      เว็บไซต์ของเทศบาลฯ บอร์ดประชาสัมพันธ์ภายในเทศบาลและชุมชน และการประชุมประจำ
                      เดือน และยิ่งไปกว่านั้นประชาชนจะได้รับข้อมูลการสรุปข้อมูลกิจกรรม/โครงการและผลการ

                      ดำเนินงานกิจกรรม/โครงการในรูปแบบคลิปวิดีโอผ่านช่องทางไลน์ของหมู่บ้าน ทางเฟสบุ๊คของ





                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   121
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132