Page 129 - kpi20542
P. 129
ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนประกอบกับวิสัยทัศน์ของเทศบาลฯที่มองเห็นความสำคัญของ
ประชาชน จึงทำให้ประชาชนเชื่อมั่นในเทศบาลฯ และยินดีให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ/
กิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับเทศบาลฯ จนทำให้เทศบาลเมืองแม่เหียะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่เป็นเลิศและได้รับรางวัลพระปกเกล้า ด้านความโปร่งใสและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน ในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งนับว่าเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่น่าศึกษาและเรียนรู้ตัวอย่าง
ถึงวิธีการบริหารและดำเนินงานเป็นอย่างยิ่ง
ความเป็นมา
การจัดตั้งศูนย์สร้างสุข หรือ ศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2559 จากความต้องการของทีมหมอครอบครัว อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน
(อสม) อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ชมรมผู้สูงอายุ กำนัน และ
ผู้ใหญ่บ้าน ที่มีความต้องการในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับผู้สูงอายุและผู้พิการในชุมชน หลังจาก
ที่ได้ร่วมบูรณาการข้อมูลและออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในโครงการเพื่อนเยี่ยมเพื่อน และลงพื้นที่
สำรวจข้อมูลด้านสาธารณสุขของประชาชนทั้ง 10 หมู่บ้าน ทำให้เห็นสภาพความเป็นอยู่และ
ข้อมูลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง และผู้ด้อยโอกาส และจากการสำรวจดังกล่าวจึงจัดทำ
ข้อมูลการสำรวจและนำมาเสนอให้แก่เทศบาลเมืองแม่เหียะเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป
ประกอบกับเทศบาลเมืองแม่เหียะที่มีข้อมูลของผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียงอยู่แล้วจึงนำข้อมูล
มาบูรณาการร่วมกัน หลังจากที่เทศบาลฯ ได้นำข้อมูลมารวมกันและวิเคราะห์แล้วปรากฎว่า
เทศบาลเมืองแม่เหียะมีประชากรผู้สูงอายุสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ที่
12 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในพื้นที่เทศบาลเมื่อแม่เหียะมีจำนวนผู้สูงอายุกว่า 17 เปอร์เซ็นต์ หรือ
กว่า 3,000 คน เมื่อเทศบาลฯ ได้รับข้อมูลดังกล่าวจึงเริ่มวางแผนร่วมกับกลุ่มสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ
ในพื้นที่ เพื่อทำความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน คิดค้นหาแนวทางเพื่อให้ผู้สูงอายุอยู่อย่าง
เป็นสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพให้ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ทุกมิติ
สุขภาพ ทั้งกาย จิต สังคม อารมณ์ และจิตวิญญาณ สำหรับประเด็นเรื่องข้อมูลของประชาชนและ กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุนั้นนับเป็นความได้เปรียบของเทศบาลเมืองแม่เหียะที่มีกองสวัสดิการเป็นหน่วยงาน
ภายในที่ดูแลเรื่องทะเบียนผู้สูงอายุทั้งหมด และแหล่งข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่ เช่น โรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) กระทรวงสาธารณสุข รวมถึง อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.)
ด้วย ซึ่งทำให้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้านผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองแม่เหียะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ภายหลังจากที่เทศบาลเมืองแม่เหียะได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดและวิเคราะห์ถึงแนวทาง
การในแก้ไขปัญหาทำให้ในปี พ.ศ. 2559 กองสาธารณสุข เทศบาลเมืองแม่เหียะเริ่มดำเนินการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเป็นลำดับแรก โดยเกิดแนวคิดที่จะจัดตั้งทีมเครือข่ายสุขภาพและ
สถาบันพระปกเกล้า 12