Page 134 - kpi20542
P. 134
การทำกายภาพบำบัด ซึ่งไม่เพียงแต่ให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่เท่านั้น เทศบาลฯ ยัง
ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
เปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจในพื้นที่ข้างเคียงสามารถเข้ารับการดูแลรักษาอีกด้วย สำหรับ
บุคลากรในการทำกายภาพบำบัดของศูนย์สร้างสุขนั้นมีจำนวน 3 คนจาก 3 แห่ง ประกอบด้วย
ผู้ช่วยนักกายภาพบำบัดของเทศบาลเมืองแม่เหียะ 1 คน นักกายภาพบำบัดจาก
โรงพยาบาลครพิงค์ 1 คน และนักกายภาพบำบัดจากโรงพยาบาลเชียงใหม่ใกล้หมออีก 1 คน
โดยเปิดให้บริการในช่วงวันอังคาร - วันพุธ ในช่วงเช้า และวันพฤหัสบดี ช่วงบ่าย ซึ่งได้รับ
การสนับสนุนงบประมานบางส่วนจากเทศบาล และบางส่วนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล
แม่เหียะซึ่งเป็นกองทุนที่เทศบาลฯ ก่อตั้งขึ้นเพื่อรับบริจาคจากประชาชนในการซ่อมแซมและ
จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยที่เข้ามารับการบำบัด
กิจกรรม ออกเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และพัฒนาผู้สูงอายุที่ติดสังคม ดังที่ได้
กล่าวไปแล้วในตอนต้นว่าศูนย์สร้างสุขพัฒนามาจากทีมหมอครอบครัว ดังนั้นหน้าที่และกิจกรรม
เดิมที่ทีมหมอครอบครัวได้ดำเนินการในด้านการออกเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และพัฒนา
ผู้สูงอายุที่ติดสังคมก็ยังต้องดำเนินการต่อไป โดยเทศบาลได้กำหนดวันออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุไว้
3 วันต่ออาทิตย์โดยแบ่งเป็นทำกิจกรรมที่ศูนย์ฯ ครึ่งวันและออกเยี่ยมบ้านอีกครึ่งวัน ได้แก่
วันอังคาร - วันพุธ ออกเยี่ยมบ้านในช่วงบ่าย และวันพฤหัสบดีออกเยี่ยมบ้านในช่วงเช้า ซึ่งมี
เจ้าหน้าที่นักกายภาพบำบัดของเทศบาลเป็นหลักในการออกเยี่ยมบ้าน และได้รับความร่วมมือจาก
กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
อสม. เจ้าหน้าที่จาก รพ.สต. สมาชิก CG ร่วมถึงทีมหมอครอบครัวในการออกเยี่ยมในแต่ละครั้ง
ด้วย
กิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ สำหรับกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุนั้นในปี 2560 เทศบาลเมือง
แม่เหียะได้ดำเนินการมาแล้วกว่า 3 รุ่น ซึ่งเทศบาลจะชักชวนให้ผู้สูงอายุมาเข้าร่วมกิจกรรม
โรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุได้ออกจากบ้านมาพบปะพูดคุยกัน ให้ความรู้ ฝึกการดูแลรักษา
สุขภาพเบื้องต้น ฝึกอาชีพเบื้องต้น ร่วมกันทำกิจกรรมสันทนากร ซึ่งการดำเนินกิจกรรมนั้น
เทศบาลฯ ได้บูรณาการร่วมกับวิทยากรจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โรงพยาบาลในพื้นที่ ศูนย์นวด เป็นต้น อีกทั้งยังได้เชิญพระสงฆ์มาให้คำสอนในการปฏิบัติธรรม
ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุได้มีสุขภาพจิตใจที่ดีขึ้น
การดำเนินกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุเริ่มจากการชักชวนชมรมผู้สูงอายุในเทศบาลเมือง
แม่เหียะให้เข้ามาร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยตั้งอยู่บนแนวคิดที่เทศบาลฯ ต้องการที่จะจัด
กิจกรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นในศูนย์สร้างสุขสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้านและติดสังคมได้ออกมา
พบเจอกันเพื่อให้สุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุดีขึ้น โดยกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุนี้จะมีระยะเวลา
ในการจัดกิจกรรมรุ่นละ 8 ครั้งตามงบประมาณที่ได้รับ ซึ่งเทศบาลฯ ได้รับการสนับสนุน
12 สถาบันพระปกเกล้า