Page 139 - kpi20542
P. 139

กรณีตัวอย่าง               จากผลการสำรวจชุมชนเพื่อจัดเก็บข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชนของเทศบาลตำบลอุโมงค์ โดย
                      การนำความรู้ที่ได้ศึกษาดูงานจากต่างประเทศของนายกเทศมนตรี และได้รับการสนับสนุนจาก

                      คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุน
                      การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เนื่องจากเทศบาลตำบลอุโมงค์ได้เข้าเป็นเครือข่ายด้านผู้สูงอายุ
                      องค์กรเหล่านี้จึงเข้ามามีส่วนสำคัญในการทำงานเกี่ยวกับเรื่องผู้สูงอายุ การจัดเก็บข้อมูล รวมถึง

                      แนวทางการจัดทำแผนที่ผู้สูงอายุ จากผลการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน พบว่า ปัจจุบัน
                      เทศบาลตำบลอุโมงค์มีจำนวนผู้สูงอายุในพื้นที่มากกว่า 2,500 คน มีผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส

                      มากกว่า 500 คน ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการความช่วยเหลือ และยังพบว่า มีปัญหาเจ็บป่วยด้วย
                      โรคเรื้อรัง นอกจากนี้กลุ่มคนเหล่านี้ยังได้รับการดูแลไม่ครอบคลุมในทุกด้าน บางส่วนขาดผู้ดูแล  ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
                      ช่วยเหลือ เทศบาลตำบลอุโมงค์จึงเกิดแนวคิดที่จะช่วยเหลือและขับเคลื่อนโครงการชมรม

                      อาสาปันสุขขึ้น

                            การดำเนินงานของโครงการชมรมอาสาปันสุข ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของ

                      ประชาชนในพื้นที่ การจัดทำแผนที่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์
                      โดยเครือข่ายที่เกี่ยวข้องนั้นจะทำการลงไปเยี่ยมเยือนบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสในทุก

                      หมู่บ้าน และเป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้เกิดความใกล้ชิดและเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี
                      แก่กัน

                      กระบวนการดำเนินงาน

                            กลไกคณะทำงาน

                            โครงการชมรมอาสาปันสุข ได้เริ่มดำเนินงานเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557 จากการร่วมมือ
                      กันก่อตั้งโครงการของเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ได้แก่ เทศบาลตำบลอุโมงค์

                      ผู้ใหญ่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภพตำบล (รพ.สต.) กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
                      กองสวัสดิการและสังคม วัดและกลุ่มแม่บ้านประจำตำบล โดยมีเทศบาลตำบลอุโมงค์เป็น
                      หน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนงาน หลังจากได้ข้อสรุปจากการร่วมกันประชุมหารือและระดม        กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ

                      ความคิดเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา ทำให้คณะทำงานได้ขยายเครือข่ายความร่วมมือเพิ่มมากขึ้น
                      โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนในชุมชน ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านชุมชน เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการของ

                      โครงการอาสาปันสุข รวมถึงได้สร้างเครือข่ายกับวัดรอบๆ เทศบาลตำบลอุโมงค์ โดยเฉพาะ
                      วัดป่าเห็ว และเจ้าคณะอำเภอเมืองลำพูน ซึ่งทางวัดเองก็ได้ส่งเสริมในการจัดทำวิจัยด้านสุขภาพ
                      อยู่แล้ว นอกจากนี้ วัดป่าเห็ว ได้มีโครงการที่ดำเนินการอยู่แล้ว คือ “โครงการสาธารณะ

                      สงเคราะห์” เทศบาลตำบลอุโมงค์และคณะกรรมการโครงการจึงต่อยอดจากโครงการนี้และ
                      พัฒนา จนกลายเป็นโครงการชมรมอาสาปันสุขในปัจจุบัน





                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   1
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144