Page 140 - kpi20542
P. 140

จากการได้เข้ามาเป็นเครือข่ายการดำเนินงาน วัดป่าเห็วจึงได้สนับสนุนในด้านเครื่องบริโภค
            ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
                  ได้แก่ ข้าวสารและอาหารแห้ง รวมถึงพระสงฆ์ได้ร่วมลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมชุมชน และได้เข้ามามี

                  บทบาทในส่วนของการสวดมนต์ การเทศนาแก่ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
                  โดยการนำหลักธรรมะมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วย การให้ขวัญกำลังใจให้เกิดการเห็นคุณค่าในชีวิต
                  ไม่รู้สึกว่าชีวิตไร้ค่า เป็นต้น


                        ชมรมแม่บ้านของเทศบาลตำบลอุโมงค์เข้ามามีส่วนสำคัญในการดำเนินงาน โดยเข้ามาเป็น
                  คณะกรรมการขับเคลื่อนชมรม มีส่วนสำคัญในการหาทุนทรัพย์ สร้างเครือข่ายแก่ภาคประชา

                  สังคม นอกจากนี้ ยังเป็นแกนนำหลักในการลงพื้นที่เยี่ยมชุมชนอีกด้วย

                        นอกจากนี้ เทศบาลตำบลอุโมงค์ยังให้ความสำคัญกับการสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่าย

                  และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยส่งเสริมให้ประชาชนทั้ง 11 หมู่บ้าน
                  ร่วมมือกันทำโครงการอาสาปันสุข ร่วมกับอาสาสมัครและคณะกรรมการโครงการ ในการลงพื้นที่

                  เก็บข้อมูลผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ซึ่งเพื่อให้เกิดความสามัคคีแก่ชุมชน ผ่านกิจกรรม
                  ต่างๆ ที่เทศบาลจัดขึ้น

                        การบริหารและการจัดการปัญหา

                        กระบวนการบริหารจัดการปัญหาเริ่มจากการวิจัยชุมชนแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบล
            กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
                  อุโมงค์ และนายกเทศมนตรีได้มีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานต่างประเทศเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ประกอบกับ

                  ในพื้นที่เริ่มมีปัญหาการเพิ่มจำนวนของผู้สูงอายุในพื้นที่ จึงได้ค้นหาวิธีการจัดการกับปัญหา
                  การเพิ่มจำนวนของผู้สูงอายุที่จะเกิดขึ้น เบื้องต้นได้สำรวจจากจำนวนประชาชนในเทศบาลตำบล
                  อุโมงค์ พบว่า มีผู้สูงอายุในพื้นที่มากกว่า 2,500 คน มีผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสมากกว่า

                  500 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ต้องการช่วยเหลือ มีปัญหาเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง บางส่วนนั้นยังขาด
                  ผู้ดูแลช่วยเหลือ จากปัญหาที่เกิดขึ้น เทศบาลตำบลอุโมงค์จึงได้เกิดแนวคิดการขับเคลื่อน

                  “ชมรมอาสาปันสุข” ขึ้นมาโดยวิธีการสำรวจจำนวนและที่อยู่ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
                  เพื่อจัดทำแผนที่อาสาปันสุข โดยได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายของเทศบาลตำบลอุโมงค์ อาทิ
                  วัดป่าเห็ว ชมรมแม่บ้านตำบลป่าเห็ว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อสม. และ

                  ภาคประชาสังคม นำโดยเทศบาลตำบลอุโมงค์ มีการประชุมหารือกับภาคีเครือข่ายในท้องถิ่น
                  เพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหา วางแผนการทำงาน และกำหนดวัตถุประสงค์ เดือนละ 2 ครั้ง คือ

                  ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 และ 4 ของเดือน โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

                        1)  เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมจาก
                           ชมรมอาสาปันสุข






                1     สถาบันพระปกเกล้า
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145