Page 133 - kpi20542
P. 133

“ศูนย์สร้างสุข” ตั้งอยู่ในสถานที่เดิมของศูนย์สามวัยสานสายใยรักแห่งครอบครัวแม่เหียะ
                      ที่ปิดตัวลงทั่วประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2558 จึงเป็นโอกาสที่เทศบาลฯ จะต่อยอดสถานที่ดังกล่าว

                      เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าภายในตัวอาคาร
                      มีความเหมาะสมสามารถดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง หรือติดสังคมได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น
                      การตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ หรือแม้แต่จัดกิจกรรมการออกกำลังกายของเด็กและเยาวชน


                            โดยในช่วงแรกก่อนจะมีการจัดตั้งศูนย์สร้างสุขนั้น หลายหน่วยงานในพื้นที่ได้ดำเนินการ
                      ด้านการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุอยู่ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็น อสม. รพ.สต. กองสาธารณสุข

                      กองสวัสดิการของเทศบาล ดังนั้น เมื่อประจวบเหมาะกับการมีสถานที่ที่เอื้ออำนวยสำหรับ       ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
                      การบูรณาการกิจกรรม/โครงการร่วมกัน ประชาชน อสม. และเทศบาลจึงได้นำเสนอแนวคิด

                      ในการบูรณาการการดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแก่นายกฯ
                      ซึ่งขณะนั้น นายกฯ ให้ความเห็นชอบและให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
                      ผู้สูงอายุโดยการจัดตั้งศูนย์สร้างสุขขึ้นในสถานที่ดังกล่าว จนในท้ายที่สุดศูนย์สร้างสุขได้ขยาย

                      โอกาสจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้พิการ/ผู้ป่วยที่ต้องทำกายภาพ
                      เด็กและเยาวชนอีกด้วย สำหรับเด็กและเยาวชนนั้นศูนย์สร้างสุขมีโครงการในการตรวจประเมิน

                      พัฒนาการของเด็กในโรงเรียนในพื้นที่ และเมื่อพบเจอเด็กที่พัฒนาการไม่เป็นไปตามวัยก็จะได้รับ
                      การดูแลและให้คำแนะนำจากศูนย์สร้างสุข โดยศูนย์สร้างสุขจะประเมินพัฒนาการของเด็กเหล่านี้
                      ในเบื้องต้นและให้คำแนะนำกับผู้ปกครอง แล้วจึงส่งตัวเด็กไปเข้ารับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาล

                      ในลำดับต่อไป

                      กิจกรรมเด่นในการดำเนินงานของ “ศูนย์สร้างสุข”

                            เมื่อเทศบาลตำบลแม่เหียะได้มีการจัดตั้งศูนย์สร้างสุขซึ่งมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและ

                      สถานที่ ทำให้เทศบาลฯ เริ่มระดมความคิดเห็นในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ในพัฒนาคุณภาพ
                      ผู้สูงอายุ โดยได้ประชุมร่วมกับประชาชนในพื้นที่ อสม. กลุ่มและเครือข่ายต่าง ๆ ให้เข้ามาเสนอ
                      ความคิดเห็นในการจัดกิจกรรม ซึ่งผลที่ตามมานับว่าเป็นที่น่าพอใจเมื่อเทศบาลฯ ได้รับคำแนะนำ  กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ

                      ในการดำเนินกิจกรรมตรวจเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุจากโรงพยาบาลนครพิงค์ โดยโรงพยาบาลฯ เสนอ
                      ให้เทศบาลจัดทำโครงการ/กิจกรรมให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ประชาชนผู้สูงอายุและ

                      กลุ่มเป้าหมายได้ประโยชน์จากการดำเนินโครงการมากขึ้นจนเกิดเป็นศูนย์สร้างสุขในปัจจุบันและ
                      ส่งผลให้มีกิจกรรมที่โดนเด่นดังนี้


                            กิจกรรม “การทำกายภาพบำบัด”  โดยศูนย์สร้างสุขได้จัดให้มีบุคลากรและสถานที่
                      ภายในศูนย์ เพื่อให้บริการด้านการทำกายภาพบำบัดแก่ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่ต้องได้รับ






                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   12
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138