Page 259 - kpi19909
P. 259
253
ข้อเสนอแนะเชิงพื้นที่ภาคเหนือที่สามารถนําไปเป็น ทางเลือกในการการบริหารความขัดแย้งโดย
สันติวิธีที่เป็นรูปธรรม และควรจะดําเนินการต่อไปในอนาคต
ส่วนแรก: บทวิเคราะห์ประเด็นความขัดแย้งเชิงพื้นที่ภาคเหนือ
1) อัตลักษณ์ของความขัดแย้ง
จากผลการศึกษาประเด็นความขัดแย้ง จากการดําเนินโครงการตามแนวนโยบายของรัฐ ใน
พื้นที่ 16 จังหวัดภาคเหนือ จังหวัดละ 5 ประเด็น รวมทั้งสิ้น 80 ประเด็นความขัดแย้ง เมื่อพิจารณา
ตามกรอบแนวคิดวงกลมความขัดแย้ง (The Circle of Conflict) โดย คริสโตเฟอร์ มัวร์ (Christopher
Moore, 2003) สรุปได้ว่า อัตลักษณ์ของความขัดแย้งเชิงพื้นที่ภาคเหนือ ส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะ
ของความเป็นเหตุเป็นผล และเชื่อมโยงกันเสมือนวงจรอุบาทว์ของความขัดแย้ง โดยเป็น
ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งด้านโครงสร้าง (Structural Conflict) ผลประโยชน์ (Interests
Conflict) ด้านข้อมูลข่าวสาร (Data Conflict) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นของการจัดการ
สิ่งแวดล้อม ที่มีผลให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการดํารงชีวิต (Insecurity) ของประชาชนคน
ธรรมดาผู้เป็นเจ้าของพื้นที่
ทั้งนี้ ชนวนของความขัดแย้งมักจะเกิดขึ้นจากความขัดแย้งด้านโครงสร้าง (Structural
Conflict) ที่ดําเนินปในลักษณะของการใช้อํานาจรัฐ ผ่านการออกนโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบ
และข้อบังคับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นของการออกประทานบัตร หรือการอนุญาตให้มีการ
ก่อสร้าง หรือดําเนินโครงการที่มีความสุ่มเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อคนในชุมชน ซึ่งความขัดแย้งด้าน
โครงสร้างนี้มักพบข้อสงสัย และข้อสังเกตุถึงความเกี่ยวโยงถึงความขัดแย้งด้านผลประโยชน์
(Interests Conflict) ที่พยายามเอื้อประโยชน์ให้กับคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดที่จะได้รับจากการดําเนิน
นโยบาย หรือโครงการของรัฐนั้นๆ หรือไม่ และเมื่อจุดเริ่มต้นของการดําเนินนโยบาย หรือโครงการ
ของรัฐเป็นไปด้วยความเคลือบแคลงและสงสัย และดูเหมือนจะมีแรงกระตุ้นบางอย่างพยายาม
ผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้ ทําให้ประเด็นของการให้ข้อมูลที่ชัดเจนแก่ประชาชนจึงได้รับการมองข้าม
หรือละเลยที่จะปฏิบัติ ทั้งที่เจตนา และไม่เจตนา ทําให้เกิดภาวะความขัดแย้งด้านข้อมูลข่าวสาร
(Data Conflict) ซึ่งแนวนโยบาย หรือการใช้อํานาจดังกล่าวจึงต้องตอบสนองให้เกิดขึ้น โดยเป็นไป
ในลักษณะของนโยบายแบบสั่งการจากบนลงล่าง (Top-down Policy) ที่ละเลยถึง “กระบวนการมี
ส่วนร่วมของคนในชุมชน” (Public Participation) ปรากฎการณ์ดังกล่าวนํามาสู่ความรู้สึกไม่
ปลอดภัยในการดํารงชีวิต (Insecurity) ของชาวบ้านผู้ต้องรับความเสี่ยง (Risk) ในการเผชิญกับ
ผลกระทบจากการดําเนินนโยบาย หรือโครงการของรัฐดังกล่าว ทั้งในส่วนของผลกระทบทางสังคม
ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และผลกระทบทางสุขภาพ