Page 254 - kpi19909
P. 254

248



                   สรุปผลการศึกษา

                          จากการดําเนินงาน ตามโครงการสํารวจข้อมูลประเด็นความขัดแย้งจากการดําเนิน

                   โครงการตามแนวนโยบายของรัฐ ( Conflict Mapping Phase 2 ) เขตภาคเหนือ ซึ่งมีวัตถุประสงค์
                   หลักในการสํารวจ ศึกษา จัดเก็บ และรวบรวมข้อมูลประเด็นความขัดแย้งที่เกิดจากหรือมีผลมาการ

                   ดําเนินโครงการพัฒนาต่างๆตามแนวนโยบายของรัฐ ในเขตภาคเหนือ โดยมุ่งศึกษาประเด็นความ

                   ขัดแย้งที่เกิดจาก หรือมีผลมาการดําเนินโครงการพัฒนาต่างๆตามแนวนโยบายของรัฐ ในพื้นที่ 16

                   จังหวัดในเขตภาคเหนือ จังหวัดละ 5 ประเด็น รวมทั้งสิ้น 80 ประเด็นความขัดแย้ง อันมีองค์ความรู้
                   ด้านฐานข้อมูลประเด็นความขัดแย้งที่เกิดจากหรือมีผลมาการดําเนินโครงการพัฒนาต่างๆตาม

                   แนวนโยบายของรัฐ ในพื้นที่เขตภาคเหนืเป็นผลสัมฤทธ์สูงสุดตามที่ได้คาดหวังไว้

                          เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลประเด็นความขัดแย้งจากการดําเนินโครงการตามแนวนโยบายของรัฐ

                   เขตภาคเหนือ ด้วยมุมมองเชิงวิพากษ์ ตามกรอบแนวคิดเรื่อง “วาทกรรม” (Discourse) ของมิเชล ฟู

                   โกต์ (Michel Focault) ร่วมกับแนวคิดเรื่อง “การครองอํานาจนํา” (Hegemony) ของอันโตนิโอ กรัม
                   ชี่ (Antonio Gramsci) จะพบว่า

                          จากการศึกษา พบว่า ปัญหาที่สําคัญประการหนึ่งของการกําหนดแนวนโยบายในการ

                   พัฒนาประเทศในหลายๆ นโยบาย ที่ส่งผ่านออกมาในรูปของโครงการพัฒนาต่างๆ นั้น เป็นไปใน

                   ลักษณะการเป็นกลไกของรัฐ (State Apparatus) เพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจนําในการบริหารประเทศ
                   ทั้งนี้ กระบวนการดังกล่าวไม่ได้เป็นไปในลักษณะของนโยบายแบบสั่งการ (Top - down) เพียง

                   อย่างเดียว หากแต่รัฐยังใช้ “วาทกรรมการพัฒนา” (Discourse) เพื่อทําหน้าที่ในการส่งต่อ “ความรู้/

                   ความจริง” ที่สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความหมาย คุณค่า กฎเกณฑ์ เงื่อนไข ซึ่งมีผลต่อการควบคุมสังคม

                   สถาบัน รวมทั้งปัจเจกบุคคลในพื้นที่การพัฒนานั้นให้เข้าใจไปในทิศทางที่รัฐต้องการ ดังจะเห็นจาก
                   กลไกของรัฐที่ส่งผ่านอํานาจในการบริหารประเทศ ผ่านพระราชกิจจานุเบกษา ตราพระราช

                   กฤษฎีกาการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของรัฐ แนวคิดการแยกคนออกจากป่า นโยบายการออก

                   ประทานบัตรเหมืองแร่ การทําโรงงานขยะชีวมวล ฯลฯ เป็นต้น ในขณะที่อีกด้านหนึ่งก็เป็นกลไกที่จะ

                   ช่วยให้เกิดการยอมรับ (Consent) ในนโยบายหรือโครงการพัฒนานั้นๆ ในหมู่ประชาชนโดย

                   ปราศจากการโต้แย้ง
                          อย่างไรก็ตาม การดําเนินนโยบายการพัฒนาที่ไม่ได้มีพื้นฐานมาจากความต้องการ หรือ

                   การมุ่งแก้ไขปัญหาที่แท้จริงของประชาชน อีกทั้งยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่แรกเริ่ม

                   โครงการ นับเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งที่เริ่มแฝงตัว (Latent Conflicts) มากับนโยบาย หรือ

                   โครงการพัฒนาของรัฐที่ไม่ตอบสนองสภาพปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของประชาชน

                   (Structure Conflicts) และเมื่อนโยบาย หรือ โครงการนั้นๆ เดินทางลงสู่ท้องถิ่น แบบขาดการมีส่วน
                   ร่วมของประชาชน ขาดช่องทางการสื่อสาร หรือการร่วมคิดเห็น ดําเนินการ และตัดสินใจ ทําให้รัฐ
   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259