Page 258 - kpi19909
P. 258
252
บทวิเคราะห์เชิงพื้นที่ประเด็นความขัดแย้ง
จากการดําเนินโครงการตามแนวนโยบายของรัฐ เขตภาคเหนือ
(Conflict Mapping Phase 2)
จากการดําเนินโครงการสํารวจข้อมูล (Survey Research) เพื่อค้นหาปัญหา (Problem
Discovery) ประเด็นความขัดแย้ง จากการดําเนินโครงการตามแนวนโยบายของรัฐ เขตภาคเหนือ
(Conflict Mapping Phase 2) ซึ่งมี 2 วัตถุประสงค์หลักในการวิจัย คือ 1) เพื่อจัดทําข้อมูลสาเหตุ
รากเหง้าของความขัดแย้ง (Roots of Conflict) ตัวแสดงที่เป็นคู่ขัดแย้ง และพลวัตของความขัดแย้ง
(Dynamics of Conflict) รวมถึงสถานะปัจจุบันของความขัดแย้งอันเนื่องมาจากโครงการที่เกิดขึ้น
ตามแนวนโยบายของรัฐ ใน 16 จังหวัดในเขตภาคเหนือ และ 2) เพื่อนําข้อมูลที่ได้มาจัดทําแผนที่
ความขัดแย้ง (Conflict Mapping) อันเนื่องมาจากโครงการที่เกิดขึ้นตามแนวนโยบายของรัฐ ใน 16
จังหวัดในเขตภาคเหนือ โดยผู้วิจัยได้กําหนดขอบเขตของการวิจัยให้เป็นการศึกษาแบบกรณีศึกษา
(Case Study) ที่อยู่ในขอบข่ายของการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเป็นการศึกษาแบบวิเคราะห์เจาะลึก
เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ความขัดแย้งจากการดําเนินโครงการตามแนวนโยบายของรัฐใน
พื้นที่ 16 จังหวัดภาคเหนือ จังหวัดละ 5 ประเด็น รวมทั้งสิ้น 80 ประเด็นความขัดแย้ง รวมถึงการ
กํานหดรูปแบบเนื้อหาของการดําเนินการศึกษาที่เน้นการศึกษาถึงสภาพความเป็นจริงของพื้นที่
(Area Based) ซึ่งหมายถึง การศึกษาสภาพประเด็นความขัดแย้งที่เกิดจากหรือมีผลมาการดําเนิน
โครงการพัฒนาต่างๆตามแนวนโยบายของรัฐซึ่งส่งผลกระทบด้านลบต่อประชาชนส่วนใหญ่ที
กระทบต่อการดําเนินชีวิตประจําวัน และอาจนํามาซึ่งปัญหา/ข้อพิพาทในแต่ละพื้นที่ในเขต
ภาคเหนือ ผ่านการศึกษาและวิเคราะห์ถึงสาเหตุ (Roots of Conflict) พลวัตของความขัดแย้ง
(Dynamics of Conflict) รวมถึงแนวทางการบริหารความขัดแย้งที่เคยใช้ ตลอดจนผลลัพธ์จากการ
ดําเนินการดังกล่าว (Conflict Management Approached) เพื่อนําเสนอทางเลือกในการการ
บริหารความขัดแย้งโดยสันติวิธีที่ควรจะดําเนินการในอนาคต (An Alternative Way for Creative
Conflict Resolution)
ดังนั้น เพื่อให้รายงานผลการศึกษาเป็นการตอบคําถามการวิจัย และบรรลุวัตถุประสงค์ของ
การวิจัย เนื้อหาในส่วนนี้จึงเป็นบทวิเคราะห์เชิงพื้นที่ประเด็นความขัดแย้ง จากการดําเนินโครงการ
ตามแนวนโยบายของรัฐ เขตภาคเหนือ (Conflict Mapping Phase 2) โดยผู้วิจัยแบ่งรายละเอียด
ของเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้ ส่วนแรก คือ บทวิเคราะห์ประเด็นความขัดแย้งเชิงพื้นที่
ภาคเหนือที่ว่าด้วยอัตลักษณ์ของความขัดแย้ง, กระบวนการจัดการความขัดแย้งที่พบ, และแผนที่
ความขัดแย้งของพื้นที่ภาคเหนือ (Conflict Mapping) ในภาพรวมของภูมิภาค ส่วนที่สอง คือ