Page 82 - kpi17968
P. 82
71
รับรูปแบบนั้นหรือไม่ หรือเราต้องการอะไรที่มากกว่านั้น ผมคิดว่าในใจของเรานั้น
เรามีคำตอบอยู่แล้ว เราไม่ต้องการรูปแบบบาง แต่เราต้องการรูปแบบหนาขึ้น แต่
เราก็เดินสายกลางได้เหมือนกัน สายกลางคือ ความสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์
ที่ต้องช่วยกันทำในเรื่องหลักนิติธรรม โดยมีมิติสากลเข้ามาด้วยเพื่อมีมาตรฐาน
เป็นฐานบวกกับพัฒนาประชาธิปไตย
ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญหลายฉบับซึ่งทุกท่านคงทราบดี และเกือบจะมาก
ที่สุดในโลกคือเกือบจะ 20 ฉบับ และฉบับที่ 18 ก็ใช้คำว่านิติธรรมเพราะมีอะไร
ที่ต้องแทรกเข้าไปและบัญญัติอยู่ในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พุทธศักราช 2550 แต่คำถามคือ ความหมายของนิติธรรมในช่วงนั้น
หมายความว่าอย่างไร หมายถึงนิติธรรมที่คลุมถึงระบอบประชาธิปไตยด้วยหรือ
ไม่?หรือว่านิติธรรมที่ไม่มีประชาธิปไตยนัก?
ในประเด็นนี้ หลักเกณฑ์สากลเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ หลักเกณฑ์ของ
องค์การสหประชาชาติ และสิ่งที่ต้องระวังมากในการใช้ศัพท์เรื่องหลักนิติธรรม
ควบคู่กับศัพท์ประชาธิปไตย คือ ในบางครั้งบางฝ่ายให้ความหมายหลักนิติธรรม
ว่า การครอบงำโดยกฎหมายแต่ไม่ใช่ความสูงสุดของกฎหมายที่ประกันสิทธิของ
ประชาชนและความเชื่อมโยงระหว่างผู้ที่มีอำนาจและผู้ที่ถูกครอบโดยอำนาจ
เพราะฉะนั้นผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่ฝากคิดสำหรับอนาคตก็คือเรื่องของหลัก
นิติธรรม และในส่วนที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยคงจะต้องมีมิติระหว่างประเทศ
พลเมือง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมด้วย รวมถึงการเคารพศาลที่เรา
ต้องการที่จะต้องมีอิสรภาพ และคุณภาพและไปไกลกว่าศาลด้วย เพราะตอนนี้
เราจะพูดมากขึ้นในเรื่องการเข้าถึงความยุติธรรม ซึ่งอาจจะต้องหมายถึง
กระบวนการที่หลากหลายของศาลเอง รวมถึงในท้องถิ่น เช่น เรื่องการระงับ
ข้อพิพาท รวมถึงคณะกรรมการสิทธิ และอื่นๆ ด้วยแล้วสถานการณ์ของเรา
ก็เปลี่ยนแปลงไป จริงๆแล้ว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2550 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 ได้ฝากฝังหลักประกันหลายอย่างที่เป็น
สะพานที่เชื่อมระหว่างหลักนิติธรรมและประชาธิปไตยมากมาย รวมทั้ง
การประกันสิทธิหลายอย่าง ได้รับการชื่นชมในหลายส่วนซึ่งมาจากรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ก็ดูได้
ปาฐกถาพิเศษ