Page 83 - kpi17968
P. 83
72
ส่วนในเรื่องสิทธิเสรีภาพนั้น รัฐธรรมนูญไทยและรัฐธรรมนูญสากลก็มีการ
ประกันสิทธิที่เป็นสิทธิเด็ดขาดส่วนหนึ่ง คือ ไม่สามารถยกเว้นได้ แต่ก็มีสิทธิ
ไม่เด็ดขาดซึ่งควรคำนึงถึง เช่น สิทธิในการแสดงออก สิทธิในการชุมนุม ที่แม้จะ
ไม่ใช่สิทธิเด็ดขาดแต่ต้องมีหลักประกัน อันนี้เราก็ฝากไว้ในรับธรรมนูญที่เพิ่ง
เปลี่ยนไป และที่ได้ชื่นชมมากก็คือหลักเกณฑ์ของประเทศไทยเกี่ยวกับสิทธิชุมชน
ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมมาก และเรียกร้องให้มีการประชาพิจารณ์
ส่วนมาตราที่ฝากไว้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ คือ มาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จะปรากฏในรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ หรือ
มาตรา 69 ซึ่งกำหนดเรื่องสันติวิธีในการดูแลประชาชนจะปรากฏหรือไม่ ซึ่งเรื่อง
นี้จะเป็นสะพานที่เชื่อมโยงระหว่าง หลักนิติธรรมและประชาธิปไตยที่ต้องคำนึงถึง
ทั้งนี้ ในมิติสากลหรือสหประชาชาติที่เข้ามาเกี่ยวข้องมีอยู่ 3 มิติ คือ
1. สนธิสัญญา หรืข้อตกลงที่ไทยเป็นสมาชิกหรือภาคีที่ตั้งหลักไว้เป็นตัว
เชื่อมระหว่างหลักนิติธรรมและประชาธิปไตย และเชิญให้เรายกมาตรฐานให้ดีขึ้น
2. ระบบการตรวจสอบ โดยองค์การสหประชาชาติ ซึ่งไทยก็เข้าร่วมแล้ว
ซึ่งเป็นการตรวจสอบแบบอ่อนๆ เป็นเพื่อนมิตรที่เรียกว่า UPR หรือ Universal
Periodic Review
3. ผู้ตรวจสอบจากสหประชาชาติ เช่น ผู้รายงานพิเศษตรวจสอบประเทศ
ไทยที่จะดำเนินการตรวจสอบและมีข้อเสนอมา
ซึ่งหลายมิตินี้เกี่ยวข้องกับการเสนอให้เรายกมาตรฐานให้ดีขึ้นในบางส่วน
และชื่นชมด้วยถ้าเราทำได้ดีอยู่แล้ว
ข้อตกลงที่เราเป็นสมาชิกภาคีที่เรามีอยู่แล้วถึง 7 ฉบับซึ่งจะเกี่ยวข้องมาก
ในเรื่องประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม กติกา สนธิสัญญาในเรื่องสิทธิพลเมือง
และการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
อนุสัญญาเกี่ยวกับสิทธิสตรี อนุสัญญาสิทธิเด็ก อนุสัญญาการต่อต้านการเลือก
ปฏิบัติทางเชื้อชาติ อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของ
คนพิการ นอกจากนั้นเราไปลงนามแล้วถึงแม้จะยังไม่ได้เป็นสมาชิก อนุสัญญา
ปาฐกถาพิเศษ