Page 150 - kpi17968
P. 150
139
ดิฉันจะไม่อธิบายว่านิติธรรมคืออะไร แต่องค์การสหประชาชาติเองก็ให้
ความสำคัญกับเรื่องหลักนิติธรรม ทั้งในความหมายแบบบาง (Thin) และในความ
หมายแบบหนา (Thick) เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็คงต้องหันมาพิจารณาว่าจะทำ
อย่างไรให้เราหันมายึดมั่นในหลักนิติธรรมได้ จะต้องทำอย่างไรให้การสร้างสมดุล
ใหม่เกิดขึ้น และจะต้องปรับปรุงเพื่อให้ความยุติธรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร เหตุใด
เราจึงต้องเป็นประเทศที่ยึดมั่นในหลักนิติธรรม หลักนิติธรรมมีความเกี่ยวข้องกับ
การพัฒนาอย่างไร ซึ่งถ้าหากประเทศปกครองโดยไม่ยึดหลักนิติธรรมแล้ว
นักลงทุนต่างประเทศก็อาจไม่กล้ามาลงทุน หรือประเทศอื่นก็คงไม่กล้ามาติดต่อ
ค้าขายด้วย และถ้าหากพลเมืองในประเทศนั้นไม่ยึดมั่นในหลักนิติธรรมแล้ว
เหตุการณ์ในบ้านเมืองก็คงเลวร้ายลงเรื่อยๆเช่นกัน เพราะประชาชนไม่มีสำนึกรับ
ผิดชอบต่อธรรมาภิบาล การจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็จะไม่
เป็นธรรม
ด้วยเหตุนี้ พอถามว่าหลักนิติธรรมอยู่ตรงไหนนกระบวนการประชาธิปไตย
ก็เป็นการหาคำตอบที่ยาก เพราะนิติธรรม กับประชาธิปไตยนั้นแยกกันไม่ออก
ซึ่งในงานวิจัยที่ดิฉันทำนั้น ก็ถือว่านิติธรรมเป็นส่วนหนี่งของหลักธรรมาภิบาล
(Good Governance) ซึ่งเน้นไปที่การใช้อำนาจจัดสรรทรัพยากรที่เป็นธรรม
และจะต้องยึดมั่นในหลักนิติธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส สำนักรับผิดชอบ
ความคุ้มค่า และคุณธรรม เราเชื่อว่าเมื่อมีธรรมาภิบาลแล้วสังคมก็จะเป็นสุข และ
เป็นธรรม และความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ก็จะเกิดขึ้น
ที่จริงแล้ว เรื่องหลักนิติธรรมไม่ใช่เรื่องใหม่ ตั้งแต่ ค.ศ. 1987 ก็มีตำรา
3
เรื่อง Our Common Future ซึ่งกล่าวว่า การดำเนินการอะไรก็ตามต้องมอง
ไกลๆ และมีการประชุมที่เมืองริโอ ดิ จานเนโร ซึ่งกำหนดเป็นปฏิญญาเรื่องของ
การพัฒนาที่ยั่งยืน แต่การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดเมื่อประชาชนมีควาสุข มีคุณภาพ
ทางสังคมที่ดี (Social Quality) ศาสตร์ตรงนี้ก็เกิดมาเรื่อยๆ แล้วเมื่อเป็นเช่นนี้
ก็จะนำไปสู่สังคมสันติภาพ
3 Word Commission on Environment and Development. 1987. Our Common
Future. Oxford University Press: New York.
การอภิปรายแสดงทัศนะ