Page 191 - kpi17721
P. 191

นอกจากนี้แล้ว ในด้านทักษะทางปัญญา (IQ) ของเยาวชนในพื้นที่ซึ่งเป็นกลุ่มที่บริโภคไข่

           ไอโอดีน จากการสำรวจของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี พบว่า กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเด็ก
           นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 6 จำนวน 200 คนในพื้นที่ตำบลนาพู่มีทักษะทางปัญญา
     ท้องถิ่นใจดี  สูงสุดที่ระดับ 135 และต่ำสุดที่ระดับ 65 ซึ่งค่าเฉลี่ยโดยทั่วไปอยู่ที่ระดับ 89.95 ซึ่งผลที่เกิดขึ้นยังนำ

           ไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน รวมถึงการมีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภคไข่ไก่
           และพืชผักเสริมไอโอดีนทั้งในแง่ของการป้องกันภาวะการเกิดโรคอันเกิดจากการขาดสารไอโอดีนและ
           การสร้างเสริมสุขภาพอนามัยที่ดีด้วย


                 (2) การพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการและเพิ่มบทบาทในการเข้ามามีส่วนร่วมใน
           การพัฒนาชุมชน   ดังจะเห็นได้ว่า กระบวนการเรียนรู้ในการทำงานร่วมกันไม่ได้ส่งผลต่อการดำ
           เนินนวัตกรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนาศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคส่วนต่างๆ ที่เข้า

           มามีบทบาทโดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่นอกจากทำหน้าที่ให้บริการทาง
           สาธารณสุขแล้ว ยังได้รับการพัฒนาให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน นอกจากนี้

           แล้ว นวัตกรรมนี้ยังแสดงให้เห็นว่า บทบาทนำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะการพัฒนา
           พื้นที่ให้เป็นต้นแบบหรือริเริ่มนวัตกรรมใหม่ๆ นั้น ไม่ใช่เพียงเรื่องสาธารณูปโภคหรือสาธารณูปการ
     การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
           ดังที่ผ่านมา แต่ยังไปถึงการให้บริการสาธารณะด้านสาธารณสุขในระดับของการป้องกันและรักษาโรค
           ด้วย


                 (3) การขยายขอบข่ายการดำเนินนวัตกรรมในด้านเศรษฐกิจชุมชน กล่าวคือ ผลจากการ
           ดำเนินนวัตกรรมนี้ไม่เพียงแต่ได้รับประโยชน์เฉพาะในส่วนงานด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่ยังรวมไป
           ถึงสร้างโอกาสในการแสวงหารายได้ให้แก่เกษตรทั้งในระดับครัวเรือนและเจ้าของธุรกิจฟาร์มในพื้นที่

           ซึ่งสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับการดำเนินการของฝ่ายการเมือง อย่างไรก็ดี แม้การ
           เลี้ยงไก่ไข่ไอโอดีนจะมีต้นทุนการเลี้ยงจะสูงกว่าการเลี้ยงไก่ทั่วไป แต่ผลผลิตที่ได้ก็สามารถสร้างรายได้

           เพิ่มขึ้น ไม่เพียงแต่การเลี้ยงไก่เท่านั้น ยังรวมไปถึงการปลูกผักด้วย กรณีความสำเร็จของการดำเนิน
           การปลูกผักไอโอดีนเพื่อการค้าของประชาชนในหมู่ 13 บ้านดอนยาง ถือเป็นต้นแบบสำคัญในการ
           ปลูกเพื่อการบริโภคในครัวเรือนและนำผลผลิตที่ได้ไปขายที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
           เป็นต้น


                 ทั้งนี้ จากการรณรงค์ให้ประชาชนเล็งเห็นความสำคัญของการบริโภคอาหารที่มีการเสริมสาร
           ไอโอดีน รวมทั้งโครงการที่กระตุ้นให้เกิดการบริโภคต่างๆ เช่น การแจกไข่ให้แก่สตรีมีครรภ์ โครงการ
           อาหารกลางวัน และโครงการขยะแลกไข่ ซึ่งนำไปสู่แนวโน้มที่ดี คือ ประชาชนเริ่มขอเปลี่ยนจากการ

           รับแจกเกลือเป็นไข่ไอโอดีน รวมถึงประชาชนเริ่มหันมาซื้อไข่ไก่ไอโอดีนเพื่อการบริโภคมากขึ้น ส่งผล
           ต่อความต้องการซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้ทั้งเกษตรกรที่เลี้ยงไก่ในครัวเรือนและผู้ประกอบการฟาร์ม






      18       สถาบันพระปกเกล้า
   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196