Page 188 - kpi17721
P. 188

แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายในการดำเนินงาน

               ร่วมกันของภาคีเครือข่าย


                     แม้จะมีการแบ่งภารกิจหรือกำหนดแนวทางดำเนินงานผ่านมาตรการต่างๆ แล้ว การบริหาร
               นวัตกรรมนี้ยังมีแนวทางในการเสริมสร้างการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายโดยเน้นการมีส่วนร่วม  ท้องถิ่นใจดี
               และสร้างความร่วมมือแบบแนวระนาบที่ทุกฝ่ายมีบทบาทในการทำงานอย่างเสมอภาคกัน ภายใต้

               แนวทางหลัก 2 แนวทาง ได้แก่

                     (1) การใช้ระบบการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดสารไอโอดีนในพื้นที่ โดย
               ให้ความสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งยังกำหนดขอบข่ายความรับผิดชอบ รวมไปถึงการจัดทำแผนงาน

               อย่างเป็นทางการเพื่อให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและแนวทางที่เป็นรูปธรรม  ซึ่งเหตุผลจากการ
               ถ่ายโอนสถานีอนามัยหรือโอนมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ อบต. ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้งาน
               สาธารณสุขดำเนินไปได้ด้วยดี  ดังตัวอย่างการรับฟังความเห็นจากสมาชิกในภาคเครือข่าย ที่ไม่เพียง

               แต่หน่วยงานหรือเครือข่ายที่เป็นภาคราชการเท่านั้น ในส่วนของภาคเอกชนที่เป็นผู้ผลิต ทาง อบต.
               ก็ได้เชิญไปร่วมการประชุมและสัมมนาด้วย 15

                     (2) การอบรมและเสริมศักยภาพสมาชิกในเครือข่าย ทั้งในส่วนของอาสาสมัครสาธารณสุข

               เครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแกนนำชุมชน ครูอนามัยโรงเรียน ผู้ดูแลเด็ก ในฐานะ
               ทูตไอโออีน ในการดำเนินงานกิจกรรมแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนในพื้นที่ ซึ่งถือว่าเป็นกลไก
               สร้างองค์ความรู้และความร่วมมือที่มีความสำคัญ ซึ่งกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นการศึกษาดูงานในแหล่ง

               เรียนรู้ต่างๆ รวมถึงการสนับสนุนโครงการที่กลุ่มต่างๆ นำเสนอมา 16
                                                                                                     การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
               ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงาน


                     ในการดำเนินนวัตกรรมที่ผ่านมาใช้ทรัพยากรด้านงบประมาณในการดำเนินการ ทั้งจาก อบต.
               หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เงินสนับสนุนจากภาคเอกชน และการสนับสนุนผ่านกลไกกองทุน
               กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาพู่   นอกจากนี้แล้ว อบต.นาพู่ยังได้บรรจุโครงการและ
                                                 17

                     15   สัมภาษณ์ มงคล วงษ์อาษา, 20 สิงหาคม 2558.
                     16   สัมภาษณ์ ลำไพร สุขวงศ์, 20 สิงหาคม 2558.

                     17   งบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาพู่  ได้รับเงินจากแหล่งทุน 4 ส่วน ได้แก่ (1) กองทุน
               หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เพื่อการป้องกันโรคในพื้นที่ เหมาจ่าย 40 บาทต่อประชากร 1 (2) การสมทบจาก
               อบต. นาพู่  ร้อยละ  20 และงบประมาณที่ อบต.นาพู่ สนับสนุนเพิ่มเติมในแผนข้อบัญญัติรายจ่ายประจำปีในส่วน
               สาธารณสุข (3) เงินสมทบจากชุมชนหรือกองทุนชุมชน  เช่น  เงินสมทบค่าอาหารกลางวันจากกลุ่มอาสาสมัคร
               สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน  กลุ่มแม่บ้าน  ผู้ประกอบการ และกลุ่มเป้าหมาย (4) เงินอุดหนุนจากหน่วยงาน
               อื่น  เช่น  สถานศึกษาทั้งในและนอกเขตตำบลเป็นงบประชาสัมพันธ์เรื่องไอโอดีน



                                                                             สถาบันพระปกเกล้า  181
   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193