Page 186 - kpi17721
P. 186
แก่ผู้นำชุมชนทั้ง 17 หมู่บ้าน การประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการบริโภค และจัดหาตลาดเพื่อ
การจำหน่ายไข่และพืชผักไอโอดีน เป็นต้น
(2) ประสานความร่วมมือและร่วมดำเนินการกับหน่วยงานอื่นๆ ผู้บริหาร สมาชิกสภา
พนักงานและเจ้าหน้าที่ของ อบต. ได้ทำหน้าที่ทั้งการประสานงานและดำเนินงานในส่วนต่างๆ ในการ ท้องถิ่นใจดี
เป็นเจ้าภาพหลักหรือศูนย์กลางในการประสานงานกับหน่วยงาน องค์กรและภาคส่วนต่างๆ ในการ
เข้าร่วมดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนงานของนวัตกรรม แม้ว่าโรงพยาบาลสร้างเสริมสุข
ภาพตำบลจะเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการนำนโยบายไปปฏิบัติ แต่หากภาคีหรือภาคส่วนอื่นๆ เช่น
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายไม่ร่วมมือด้วย จะส่งผลให้
14
โครงการไม่สามารถดำเนินการได้อย่างประสบผลสำเร็จ
บทบาทของแต่ละภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน
ความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย
ภาคีเครือข่ายในการร่วมดำเนินนวัตกรรม ประกอบด้วย 3 กลุ่มหลัก ได้แก่
(1) เครือข่ายภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอและจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
เพ็ญ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุดรธานี โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพ
ตำบลนาพู่และบ้านหลวง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์แห่ง
ที่ 2 โรงเรียน และ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ตำบลนาพู่
(2) เครือข่ายภาคประชาสังคม ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในฐานะผู้บริโภค
และเป็นผู้เลี้ยงไก่ไข่ รวมถึงกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ไอโอดีน การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
(3) เครือข่ายภาคเอกชน ได้แก่ ธนาคารทิสโก จำกัด (มหาชน) และผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยง
ไก่ไข่ไอโอดีน ซึ่งในปัจจุบันมีเพียง 1 แห่งในพื้นที่ตำบลนาพู่
อย่างไรก็ดี แม้ในการดำเนินงานของเครือข่ายจะใช้หลักการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ
ซึ่งแต่ละส่วนล้วนมีความสำคัญต่อการดำรงรักษาและสร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายทั้งสิ้น ทั้งนี้
อาจแบ่งแยกบทบาทของภาคีเครือข่ายออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
(1) บทบาทในการส่งเสริมด้านสุขภาพ ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาพู่
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเพ็ญ ซึ่งเข้ามาทำหน้าที่ในการให้
ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ การเผยแพร่ข้อมูลสภาวการณ์การขาดสารไอโอดีนของประชาชน
14 สัมภาษณ์ ปัณณวิชญ์ สุภโตษะ, 20 สิงหาคม 2558.
สถาบันพระปกเกล้า 1