Page 181 - kpi17721
P. 181

ซึ่งการดำเนินการที่เกิดขึ้นต้องคู่ขนานไปกับการปรับระบบสร้างสุขภาพและป้องกันโรคที่อยู่ในความ

           รับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย   ซึ่งในกระบวนการจัดทำแผนได้จัดให้มีคณะ
                                                   11
           วิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุข อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี เข้ามาร่วมดำเนินการ ร่วมกับภาคีเครือข่าย
     ท้องถิ่นใจดี  โดยมีผู้นำชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล ครูโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาสาสมัคร

           สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เข้าร่วมด้วย

           มาตรการที่ 3 พัฒนาระบบคุณภาพบริการ ระบบส่งต่อโดยพัฒนาคุณภาพบริการตามมาตรฐาน

           ในทุกคลินิกบริการ

                 มีการดำเนินการที่เน้นการให้ความรู้และกระจายทรัพยากร ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

                 ส่วนแรก คือ คลินิก ฝากครรภ์ โดยดำเนินกิจกรรมโรงเรียนเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองทุกราย

           ในรูปแบบของการให้ความรู้ด้านสุขศึกษาแบบตัวต่อตัว การสร้างข้อตกลงด้วยการใช้สมุดพันธะ
           สัญญาพ่อแม่ การแจกแผ่นพับให้ความรู้เรื่องไอโอดีนการให้คู่มือเกี่ยวกับไอโอดีน ตลอดจนการจ่ายยา
           เม็ดเสริมไอโอดีน ยาสูตร Obimin-AZ วันละ 1 เม็ด  และแจกไข่ไก่เสริมไอโอดีน วันละ 1 ฟอง ให้แก่

           สตรีที่ตั้งครรภ์ รวมทั้งการจัดอบรมโครงการพัฒนาสมองใสด้วยไข่ไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง
     การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
                 ส่วนที่สอง คือ หญิงหลังคลอด จัดให้มีการแจกไข่เสริมไอโอดีน วันละ 1 ฟอง ตลอด 3 เดือน
           ตลอดจนการควบคุมคุณภาพ ติดตามดูแลรักษาเด็กที่มีภาวะพร่องธัยรอยด์ ฮอร์โมน ซึ่งโรงพยาบาล

           เพ็ญได้จัดประชุมเจ้าหน้าที่ เพื่อให้มีความรู้เรื่องแนวทางการติดตามเด็กที่มีปัญหาภาวะบกพร่อง
           ธัยรอยด์ฮอร์โมน

                 ส่วนที่สาม คือ คลินิกผู้รับบริการทั่วไป โดยการจัดให้มีน้ำเสริมไอโอดีนไว้คอยบริการทุกวัน

           และจัดบอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับไอโอดีนไว้เป็นประจำที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน่าพู่

           มาตรการที่ 4 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการจัดการ

                 มีการดำเนินการ “คืนข้อมูล” หรือส่งผลการตรวจระดับฮอร์โมนในกระแสเลือดที่เกี่ยวข้อง

           กับการทำงานของต่อมธัยรอยด์ (TSH) ไปยังอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หากพบว่า
           กลุ่มเป้าหมายหรือประชาชนผู้ใด มีสภาวะการขาดไอโอดีน หรือมีระดับผลการตรวจ TSH เกิน

           11.25 mu-l  จะใช้วิธีการติดต่อทางโทรศัพท์เพื่อออกติดตามให้เร็วที่สุด หลังจากนั้นจะมีการบันทึก
           เป็นลายลักษณ์อักษร แล้วจึงนำข้อมูลส่งกลับสู่ภาคีเครือข่ายในรูปแบบของการประชุมประจำเดือน
           ทั้งยังได้จัดให้มีการใช้วิทยุชุมชนเป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้และสอดแทรก


                 11   กรรณิกา ตั้งสกุล และคณะ, “การสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์เพื่อควบคุมและป้องกันโรคขาดสาร
           ไอโอดีน จังหวัดขอนแก่น,” วารสารศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 4, 1 (ตุลาคม 2554 -
           มีนาคม 2555) : 37.



      1        สถาบันพระปกเกล้า
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186