Page 177 - kpi17721
P. 177

ภาพที่ 4 แสดงการดำเนินงานการเลี้ยงไก่ไข่ไอโอดีนและการปลูกพืชผักเสริมสารไอโอดีน





     ท้องถิ่นใจดี

























     การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม



                 พ.ศ.2557 ได้มีการให้บริการเกลือไอโอดีนควบคู่กับไข่ไก่ไอโอดีน ตลอดจนการอบรมให้ความรู้
           อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้มีการดำเนินการเผยแพร่นวัตกรรมผ่านสื่อต่างๆ ด้วยการบันทึกเทปโทรทัศน์

           นวัตกรรมไข่ไก่ไอโอดีนและผักไอโอดีนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ระดับ
           ประเทศครั้งที่ 2 เพื่อเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 และหนังสือพิมพ์ต่างๆ เช่น เดลินิวส์ และ
           แนวหน้า เป็นต้น ตลอดจนการขยายตัวของผู้เลี้ยงไก่ไข่ไอโอดีนจนเกิดเครือข่ายกลุ่มเลี้ยงไก่ไข่
           ไอโอดีน จากผู้เลี้ยงจำนวน 56 ครัวเรือน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่


                 กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่เลี้ยงไก่ไข่ไอโอดีนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วยผู้เลี้ยงไก่ไข่
           ไอโอดีน ครัวเรือนละ 5 ตัว จำนวน 36 ครัวเรือน


                 กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่เลี้ยงไก่เป็นอาชีพเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยผู้เลี้ยงไก่ไข่
           ไอโอดีน เป็นจำนวน 30, 50 และ 100 ตัวขึ้นไป ที่พัฒนาขึ้นเป็นฟาร์มขนาดเล็ก จำนวน 20 ครัวเรือน

                 อย่างไรก็ดี ถือได้ว่า พ.ศ. 2557 เป็นช่วงเวลาสำคัญ เนื่องมาจากปัจจัยหลายด้าน กล่าวคือ

           ผลการวัดระดับสภาวการณ์การขาดสารไอโอดีนในรอบปี พ.ศ.2557 ลดลงเหลือที่ระดับ 4.35
           นอกจากนี้แล้วยังมีการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินนวัตกรรม โดยจัดทำบันทึกข้อตกลง
           ความร่วมมือ (MOU) ระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมืออย่างเป็น





      1 0      สถาบันพระปกเกล้า
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182