Page 174 - kpi17721
P. 174

วัตถุประสงค์
หรือเป้าหมายของโครงการ

                     นอกเหนือจากมุ่งแก้ไขปัญหาภาวการณ์ขาดสารไอโอดีนแล้ว นวัตกรรมนี้ ยังได้กำหนด

               เป้าหมายของโครงการเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาและสร้างเสริมสุขภาพที่ยั่งยืนให้แก่ประชาชนในพื้นที่
               ได้แก่                                                                                ท้องถิ่นใจดี

                    (1)  ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะของการขาดไอโอดีน


                    (2)  ประชาชนในพื้นที่ตำบลนาพู่ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายได้รับการเสริมไอโอดีนเพียงพอต่อความ
                        ต้องการของร่างกาย

                    (3)  ไม่เกิดโรคขาดสารไอโอดีนในตำบลและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


               กิจกรรมการดำเนินงานและกระบวนการดำเนินงาน


                     กิจกรรมและกระบวนการดำเนินงานของนวัตกรรมนี้ พิจารณาได้จากพัฒนาการของการ
               ดำเนินงานตั้งแต่ พ.ศ.2549 จนถึงปัจจุบัน กล่าวคือ

                     พ.ศ. 2549 ให้บริการประชาชนโดยการเผยแพร่ความรู้เรื่องไอโอดีน การบรรเทาและป้องกัน

               ภาวะการขาดไอโอดีน ด้วยการแจกเกลือไอโอดีนและให้บริการน้ำดื่มไอโอดีนแบบบรรจุขวดให้แก่
               ประชาชน ซึ่งระดับของการขาดไอโอดีนในพื้นที่ในช่วงเวลานั้นอยู่ที่ระดับ 26.39

                     พ.ศ. 2550 ยังคงดำเนินการโดยแจกจ่ายเกลือไอโอดีนและให้บริการน้ำดื่มผสมไอโอดีน ซึ่ง

               ระดับของการขาดไอโอดีนในพื้นที่ ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 24.24

                     พ.ศ. 2551 แม้จะยังคงใช้แนวทางในการแจกจ่ายเกลือไอโอดีนและให้บริการน้ำดื่มผสม     การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
               ไอโอดีน แต่ระดับของการขาดไอโอดีนในพื้นที่ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 30.28 ซึ่งในช่วงเวลานี้ได้มีความ

               ร่วมมือทางการวิจัยระหว่าง อบต.นาพู่ กับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์วิทยาศาสตร์การ
               แพทย์ที่ 2 อุดรธานี เข้ามาสำรวจและศึกษาวิจัยในพื้นที่ ทั้งยังให้การสนับสนุนด้านวิชาการด้วยการ
               สนับสนุนให้ฟาร์มไก่ไข่อิสระในพื้นที่ได้ใช้ ไอโอดีนผสมในอาหารไก่ ผลผลิตที่ได้ คือ ไข่ไก่ 1 ฟอง

               มีไอโอดีน 95 ไมโครกรัม มีผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อได้ผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ ทาง อบต.นาพู่
               จึงจัดให้มีการประชาสัมพันธ์เรื่อง ไอโอดีน และสนับสนุนการผสมไอโอดีนในอาหารไก่

                     พ.ศ. 2552 ยังคงใช้แนวทางในการแจกจ่ายเกลือไอโอดีนเช่นเดิม แต่ยกเลิกการให้บริการ

               น้ำดื่มผสมไอโอดีน ซึ่งผลการวิจัยในพื้นที่ ค้นพบ สูตรการเพิ่มสารไอโอดีนในไก่พันธุ์ไข่และพืชผัก
               สวนครัว ตามระบบห่วงโซ่อาหารที่คิดค้นได้ นอกจากนี้ ยังได้มีการผลักดันให้ใช้วิถีการผลิตแบบ
               เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีความสอดคล้องและสอดรับกับนโยบายของรัฐและท้องถิ่น โดยผลการวัด

               ระดับของการขาดไอโอดีนในพื้นที่ ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 24.31


                                                                             สถาบันพระปกเกล้า  1
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179