Page 169 - kpi17721
P. 169

6
           นโยบายและแผนงาน ตลอดจนโครงการต่างๆ ที่เป็นผลดีและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน

                 อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ปรากฏภาพว่าผู้บริหารและสภา อบต. เป็นกลุ่มการเมืองเดียวกันอย่าง
           ชัดเจน เนื่องจากสภา อบต.ยังคงมีบทบาทในการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารทั้งการนำเสนอ
     ท้องถิ่นใจดี  ปัญหาและอภิปรายการดำเนินนโยบายในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง แต่ภาพรวมในการบริหารงาน


           และการประสานงานเป็นไปอย่างราบรื่น ประกอบกับการมีแกนนำชุมชนที่เข้มแข็งที่มีการจัดตั้งหรือ
           รวมตัวเป็นกลุ่มต่างๆ ในชุมชน ตลอดจนให้ความร่วมมือและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เป็นอย่างดี ทำให้

           การทำประชาคมหมู่บ้านได้เป็นกิจกรรมหรือกลไกทางการเมืองที่สำคัญของ อบต.นาพู่ ซึ่งได้มีการ
           จัดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจงเรื่องราวต่างๆ ระหว่างหน่วยงาน
           ราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งการเผยแพร่และ แจ้งข่าว
           การทำงานของ อบต. ให้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อสร้างความโปร่งใสและมีความไว้วางใจกัน ส่งผล

                                                                    7
           ให้การดำเนินนโยบายต่างๆ ในพื้นที่เป็นไปอย่างราบรื่นและมีเสถียรภาพ

           นวัตกรรมต้นแบบการแก้ไขปัญหาโรคเอ๋อ

           และโรคขาดสารอาหารไอโอดีนอย่างยั่งยืน
     การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
           สภาพปัญหาและสถานการณ์ที่นำไปสู่นวัตกรรม

                 สำหรับเครือข่ายและการดำเนินงานที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเลิศด้านการเสริมสร้าง
           เครือข่ายรัฐเอกชนและประชาสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ ได้แก่ “โครงการนวัตกรรม

           ต้นแบบการแก้ไขปัญหา โรคเอ๋อและโรคขาดสารอาหารไอโอดีนอย่างยั่งยืน” อันเป็นโครงการที่
           ตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เนื่องจากโรคเอ๋อและภาวะขาดสารไอโอดีนเป็นปัญหาสำคัญ
           ทางด้านสาธารณสุข ซึ่งผลของการได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอส่งต่อพัฒนาการของสมองโดยเฉพาะ
           ในส่วนของความจำและความเฉลียวฉลาด รวมไปถึงการทำงานของกล้ามเนื้อร่างกายและระบบการ

           เผาผลาญอาหาร ตลอดจนการเกิดโรคคอพอก ในทารกอายุตั้งแต่ 3  สัปดาห์ถึง 3 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มี
           การพัฒนาสมองมากถึงร้อยละ 80 ร่างกายจะใช้ไอโอดีนในการเพิ่มจำนวนและขนาดของเซลล์สมอง

           รวมทั้งการสร้างใยประสาทเชื่อมต่อกัน

                 ทั้งนี้ ผลกระทบร้ายแรงที่ชัดเจนจะเกิดขึ้นกับทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงอายุ 2-3 ปี กล่าวคือ
           หากมารดาขาดสารไอโอดีนอย่างรุนแรงในระยะตั้งครรภ์ จะทำให้พัฒนาการของสมองของทารก

           ผิดปกติไม่เป็นไปตามวัย  และเมื่อเกิดการขาดสารไอโอดีนอย่างรุนแรงจะทำให้เกิดภาวะพร่อง


                  6   องค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่, เอกสารประกอบการนำเสนอโครงการรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2557,
           (อุดรธานี: องค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่, 2559).
                  7   สัมภาษณ์ อำนวย อินทรธิราช, 20 สิงหาคม 2558.



      1 2      สถาบันพระปกเกล้า
   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174