Page 171 - kpi17721
P. 171

ภาพที่ 2 แสดงสภาวการณ์การขาดสารไอโอดีนของทารกแรกเกิดในอำเภอเพ็ญ

                     เปรียบเทียบกับจังหวัดอุดรธานีและประเทศไทยระหว่าง พ.ศ.2546-2551 9


     ท้องถิ่นใจดี


















                 กรณีของตำบลนาพู่ ถือเป็นพื้นที่หนึ่งที่ประสบปัญหาการขาดสารไอโอดีนระดับรุนแรงข้อมูล

           เมื่อ พ.ศ. 2551 พบว่า มีประชาชนเป็นโรคขาดไอโอดีน จำนวน 55 รายและในจำนวนนี้มีเด็กพิการ
           แต่กำเนิดส่งผลให้มีพัฒนาการเป็นไปด้วยความล่าช้า  และด้วยผลจากภาวะร่างกายไม่พร้อมที่จะ
     การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
           สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้ จึงตกเป็นภาระและปัญหาทั้งต่อตนเองโดยตรงและสังคม
           โดยอ้อม  ทั้งนี้ได้มีการศึกษาพบว่าทารกแรกเกิดในพื้นที่ซึ่งมีการขาดสารไอโอดีนจะมีระดับ TSH

           สูงกว่าปกติและการเสริมไอโอดีนให้แก่มารดาจะทำให้ระดับ TSH ของทารกลดลงอยู่ในระดับที่เป็น
           ปกติได้


           ผู้ริเริ่มโครงการ
จุดเริ่มต้นโครงการ

                 จากปัญหาดังกล่าวทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยศูนย์ปฏิบัติการการตรวจคัดกรอง
           สุขภาพทารกแรกเกิดได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 (ปัจจุบันเปลี่ยน
           เป็นศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2)  จังหวัดอุดรธานี ได้จัดตั้งเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์

           ชุมชนเพื่อเป็นกิจกรรมเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและ
           ประชาชน ในการหาแนวทางป้องกันและบรรเทาปัญหาการขาดสารไอโอดีน ซึ่งเป็นการดำเนินการ
           ที่เน้นการสื่อสารเพื่อให้ข้อมูลและสำรวจสภาพปัญหา รวมถึงระดับความรุนแรงของปัญหาในพื้นที่







                  9   จินตนา ว่องวิไลรัตน์ และ อำนวย อินทรธิราช, “นวัตกรรมต้นแบบการแก้ปัญหาโรคเอ๋อและโรคขาดสาร
           ไอโอดีนในพื้นที่อย่างยั่งยืน : การเพิ่มสารไอโอดีนในห่วงโซ่อาหารและผลิตภัณฑ์การเกษตร”, (ออนไลน์),
           (ไม่ปรากฎวันที่), แหล่งที่มา: http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot/udonthani/web/ develop/
           Development/Neonatal 20Screening/9A.pdf (15 สิงหาคม 2558).



      1        สถาบันพระปกเกล้า
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176