Page 173 - kpi17721
P. 173

ผลที่ได้คือ ปริมาณไอโอดีนที่สะสมในผักบุ้ง (ไมโครกรัม: น้ำหนักผักสด 100 กรัม) ในผักสด

           อยู่ที่ 267.2-276.1 ไมโครกรัม ในขณะที่ผักนึ่งสุก อยู่ที่ 231.9 – 256.0 ไมโครกรัม ซึ่งในช่วงเวลา
           ของการทดลองนั้นได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารโครงการผ่านกิจกรรม
     ท้องถิ่นใจดี  ต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรที่เป็นเจ้าของแปลงผักขนาดใหญ่ หลังจากนั้น จึงได้มีการประเมิน

           ผลการทดลองโดยการเก็บปัสสาวะจากกลุ่มทดลอง จำนวน 112 ประชากรตัวอย่างในตำบลนาพู่
           โดยเลือกจากประชาชนในหมู่บ้านหนองนกเขียนและบ้านกิ่ว ซึ่งพบว่า ระดับไอโอดีนมีความเข้มข้น
           มากขึ้น ดังตารางที่ 3


                       ตารางที่ 3 ผลระดับความเข้มข้นไอโอดีนในปัสสาวะของกลุ่มทดลอง
                         ในหมู่บ้านหนองนกเขียนและบ้านกิ่ว ต.นาพู่ อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี


                                          ระดับความเข้มข้นไอโอดีนในปัสสาวะเฉลี่ย (ug/dL)
                   สภาพของสารไอโอดีน      ก่อนกินอาหาร              กินผักบุ้ง   ผลการตรวจ
                                            ไอโอดีน   กินไข่ ไอโอดีน   ไอโอดีน
                       ไม่รุนแรง             5.56        14.77       13.24      66.0 (74 ราย)
            Non-Severe –Mild iodine (0.00 - 9.24)
     การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
                       เหมาะสม              12.84        18.91       19.39     25.00 (28 ราย)
                 Ideal iodine (10.06-19.90)

                        เกินพอ              29.76        28.28       14.95      8.93 (10 ราย)
                  More than adequate



                 แม้ในระยะแรกจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่การดำเนินการในพื้นที่ก็ยังคงเป็นไป
           อย่างต่อเนื่องจนถึง พ.ศ.2553 ได้มีการทดลองและวิจัยร่วมกัน พบว่า การเพิ่มสารไอโอดีนในไข่ไก่

           และพืชผักสามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้
           ดำเนินโครงการ “นวัตกรรมต้นแบบการแก้ปัญหาโรคเอ๋อและโรคขาดสารไอโอดีนในพื้นที่อย่าง
           ยั่งยืน” ด้วยการเพิ่มสารไอโอดีนในห่วงโซ่อาหารและผลิตภัณฑ์การเกษตร  หลังจากนั้นจึงได้มีการนำ

           ผลการทดลองที่ได้จากการดำเนินงานในตำบลมาพู่มาถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมการแก้ปัญหาโรค
           ขาดสารไอโอดีน  ทั้งยังได้มีการสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์กับผู้รับบริการร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วน
           เสียต่อปัญหาการขาดสารไอโอดีนในพื้นที่ ตลอดจนการจัดกิจกรรมการสื่อสารประชาสัมพันธ์ผลงาน
           ในรูปแบบต่างๆ













      1        สถาบันพระปกเกล้า
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178