Page 172 - kpi17721
P. 172
ทั้งนี้ เครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ได้เข้ามาดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่
องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ฟาร์มอิสระ และโรงเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์วิทยาศาสตร์
การแพทย์ที่ 2 ได้เข้าไปมีบทบาทหน้าที่ในการดูแลเกี่ยวกับปัญหาสถานการณ์การขาดสารไอโอดีน
โดยได้จัดทำโครงการวิจัยนำร่องที่ตำบลนาพู่ โดยความร่วมมือของ อบต.นาพู่ ให้เป็นโครงการวิจัย
นำร่องและพื้นที่ต้นแบบแห่งแรกในประเทศไทย ในการทดลองเพิ่มปริมาณสารไอโอดีนในผลผลิต ท้องถิ่นใจดี
ทางการเกษตรด้วยการแนะนำให้ประชาชนในพื้นที่เลี้ยงไก่ไข่และปลูกผักพื้นบ้านเสริมไอโอดีน ซึ่งไข่
จะมีตราประทับเป็นสัญลักษณ์ที่รับรองมาตรฐานไข่ไอโอดีนจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำหรับ
สูตรอาหารเลี้ยงไก่ไข่นั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้มีการพัฒนาและวิจัยสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ด้วยการผลักดันของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
นอกจากเหตุผลในการได้รับเลือกให้เป็นพื้นที่ต้นแบบ จะเป็นผลมาจากปัจจัยเรื่องความรุนแรง
ของสภาวการณ์ขาดสารไอโอดีนแล้ว ยังมาจากปัจจัยในเรื่องศักยภาพและความโดดเด่นในการทำงาน
ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ได้เริ่มดำเนินการในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ในการทดลอง
ด้วยการแจกจ่ายหัวอาหารเสริมไอโอดีนสำหรับเลี้ยงไก่ไข่ในฟาร์มของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งใช้วิธีการ
เลี้ยงเหมือนการเลี้ยงไก่ไข่โดยทั่วไป เพียงแต่ใช้หัวอาหารที่มีสารไอโอดีนเข้มข้นผสมกับอาหารไก่
ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลการทดลองพบว่า ไข่ไก่โดยทั่วไปมี
สารไอโอดีนอยู่ที่ 13-25 ไมโครกรัมต่อฟอง ในขณะที่ไข่ไก่ที่ได้รับอาหารผสมไอโอดีน จะมีระดับ
สารไอโอดีนอยู่ที่ 160-201 ไมโครกรัมต่อฟอง ซึ่งถือได้ว่าสามารถเสริมสารอาหารในระดับที่เพียงพอ
ต่อความต้องการในแต่ละวันได้ ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 แสดงปริมาณไอโอดีนที่มนุษย์ควรได้ต่อวัน
หญิงมีครรภ์ เยาวชน นักเรียน เด็กแรกเกิด – การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
ช่วงอายุ ผู้สูงอายุ
ให้นมลูก ผู้ใหญ่ 7 – 12 ปี 6 ปี
ปริมาณไอโอดีนที่ควรได้รับต่อวัน 150 250 150 120 90
(หน่วยไมโครกรัม :μg)
อย่างไรก็ดี การวิจัยนำร่องในพื้นที่ตำบลนาพู่ไม่เพียงแค่การให้สารอาหารในไข่ไก่เท่านั้น ยังได้
มีการให้ความสำคัญกับการปลูกพืชผักเสริมไอโอดีน มีการเตรียมสารละลายโพแทสเซียมไอโอไดท์
(Potassiumiodide) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ในการผลิตไอโอดีนเพื่อนำมาใช้ในแปลงผักสวนครัว
ซึ่งเป็นแปลงทดลองที่หมู่ 3 บ้านหนองนกเขียน วิธีการที่นำมาใช้ในช่วงแรก คือ การใช้สารไอโอดีน
ตั้งต้นสำหรับทำสารละลายไอโอดีนเพื่อใช้ในการฉีดพ่นพืชผักเสริมไอโอดีน ผสมน้ำในอัตราที่เหมาะสม
ฉีดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยว เป็นเวลา 52 สัปดาห์ๆ ละ 2 ครั้ง คิดเป็นเงิน 2,080 บาท ต่อปี
สถาบันพระปกเกล้า 1 5