Page 175 - kpi17721
P. 175
ทั้งนี้ เมื่อผลการวิจัยและการดำเนินโครงการมีแนวโน้มที่ดีขึ้น จึงได้จัดเตรียมโครงการพัฒนา
สมองใสด้วยไข่ไอโอดีน ซึ่งเน้นพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข โดยของบประมาณสนับสนุน
จากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาพู่ และแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาการขาด
ท้องถิ่นใจดี สารไอโอดีนในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นกลวิธีในการสร้างกลไกและเครือข่ายในพื้นที่ในการอบรมให้ความรู้
ส่งเสริมและสนับสนุนให้บริโภคไข่ไอโอดีนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งในช่วงเวลานั้นคือกลุ่ม
หญิงตั้งครรภ์
พ.ศ. 2553 ยังคงใช้แนวทางการแจกจ่ายเกลือไอโอดีน แต่ส่งเสริมให้ใช้ควบคู่กับไข่ไก่ไอโอดีน
หลังจากนั้นจึงได้ดำเนินการวิจัยต่อเป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งผลการวิจัยได้ข้อค้นพบที่สำคัญ 5 ประการ
ได้แก่
(1) การพัฒนาสูตรการเพิ่มสารไอโอดีในไข่ไก่ จนได้สูตรใหม่ที่มีสารไอโอดีนเข้มข้นในไข่ไก่
ที่ระดับ 174-211 ไมโครกรัมต่อฟอง
(2) ความคงตัวของธาตุไอโอดีน (biological iodo-organic compounds) ที่ไม่เสื่อมสลาย
ได้ง่าย เมื่อถูกความร้อน แสงแดดหรือการปรุงเป็นอาหาร
การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
(3) อายุของแม่ไก่พันธุ์ไข่ในการออกไข่ มีอายุนานขึ้นจากเดิมที่พบโดยทั่วไปที่มีระยะเวลา
18 เดือน เพิ่มเป็น 36 เดือน และมีอัตราการตายของแม่ไก่ลดลง
(4) ไข่ไก่ที่ได้จากการเพิ่มสารไอโอดีนมีน้ำหนักมากขึ้นและขนาดใหญ่ขึ้น
(5) พบสารอินทรีย์และสารเคมี ที่เป็นปัจจัยที่นำไปสู่การยับยั้งการใช้ประโยชน์ไอโอดีน
ในร่างกาย เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เป็นต้น
นอกจากนี้แล้ว ยังได้มีการดำเนินโครงการพัฒนาสมองใสด้วยไข่เสริมไอโอดีน พ.ศ. 2553
โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบลนาพู่ อีกทั้งยังเป็น
จุดเริ่มต้นสำคัญที่การดำเนินนวัตกรรมนี้ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้กับหญิงตั้งครรภ์ อาสาสมัคร
สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประชาชนทั่วไป โดยภาวการณ์การขาดสารไอโอดีนในช่วงเวลานี้
อยู่ที่ระดับ 25.69 ทั้งยังสำรวจพบว่า ไม่มีผู้ป่วยโรคคอพอกรายใหม่ ซึ่งถือเป็นต้นแบบนำร่อง
การถ่ายทอดความรู้ให้ชุมชนและสามารถนำไปขยายผลให้ครอบคลุมทั่วประเทศ 10
พ.ศ.2554 ใช้แนวทางการใช้ไข่ไก่ไอโอดีนควบคู่กับเกลือไอโอดีน นอกจากนี้ยังได้มีการอบรม
ความรู้โครงการ “การพัฒนาสมองใสด้วยไข่ไก่ไอโอดีน” ให้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภา
องค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ หญิงตั้งครรภ์และประชาชนในพื้นที่
10 “นวัตกรรมใหม่ เพิ่มสารไอโอดีนในไข่และผักป้องกันโรคเอ๋อในเด็กชนบท”, บ้านเมือง (9 สิงหาคม 2552).
1 8 สถาบันพระปกเกล้า