Page 180 - kpi17721
P. 180

ภาพที่ 5 แสดงขั้นตอนการดำเนินงานตามนวัตกรรมแก้ปัญหาโรคเอ๋อและขาดไอโอดีนอย่างยั่งยืน   ท้องถิ่นใจดี


















                     ในปัจจุบัน นวัตกรรมนี้เน้นการดำเนินการ ใน 4 ส่วนหลัก ได้แก่ การบริโภคไข่ไอโอดีนของ
               หญิงตั้งครรภ์ การบริโภคไข่ไก่ไอโอดีนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การเลี้ยงไก่ไข่ในครัวเรือนเพื่อให้บริโภค

               ในครัวเรือนและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่ รวมทั้งการปลูกผักไอโอดีน ในครัวเรือน เช่น
               ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักสลัดห่อ เป็นต้น และ เนื่องจากนวัตกรรมนี้เป็นนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ

               อนามัยที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อบต.นาพู่ ได้กำหนดแนวทางดำเนินการ โดยแบ่งออกเป็น
               7 มาตรการและมีการขยายผลการดำเนินนวัตกรรม ดังนี้

               มาตรการที่ 1 บริหารจัดการระบบแก้ปัญหาขาดสารไอโอดีนเชิงบูรณาการ


                     จัดให้มีการประชุม “ภาคีเครือข่ายการเฝ้าระวังแก้ปัญหาการขาดสารไอโอดีน” ประกอบด้วย
               องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประธานกลุ่มแม่บ้าน อาสาสมัคร
               สาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อนำข้อมูลเผยแพร่ลงสู่พื้นที่และแก้ปัญหาในทุกกลุ่มทุกวัย หลังจากนั้น

               จึงได้จัดให้มีการประชาคมหมู่บ้านร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อคืนข้อมูลให้แก่ชุมชน พร้อมร่วมกัน  การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
               วิเคราะห์ จัดลำดับความสำคัญและหาแนวทางแก้ไข โดยผลักดันให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ
               แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ จากนั้นเมื่อได้ข้อสรุปจึงได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการ
               กองทุนสุขภาพท้องถิ่นตำบลนาพู่ เพื่อของบประมาณในการดำเนินงาน ซึ่งการดำเนินการที่สำคัญ

               ในมาตรการนี้ คือ การถ่ายทอดองค์ความรู้และบูรณาการกิจกรรมของหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบ
               ในพื้นที่ตำบลนาพู่ จำนวน 17 หมู่บ้าน โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางที่เน้นการเปิดโอกาสให้

               ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาโครงการผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การทดลองปลูกพืชผัก
               ไอโอดีนในแปลงผักขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันและส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
               ในการแก้ปัญหาโรคขาดสารไอโอดีน


               มาตรการที่ 2 พัฒนากระบวนการจัดทำแผน โดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือ

                     “แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์” คือ เครื่องมือทางการบริหารจัดการ ที่ถูกนำมาใช้ดำเนินการ
               พัฒนาบทบาทของประชาชน ให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองอย่างยั่งยืนได้




                                                                             สถาบันพระปกเกล้า  1
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185