Page 182 - kpi17721
P. 182

ความบันเทิงให้แก่คนในชุมชน  นอกจากนี้แล้วยังได้มีการพัฒนาระบบส่งต่อและการคืนข้อมูลให้พื้นที่

               ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเพ็ญ (http://ssophen.blogspot.com) รวมทั้ง
               พัฒนาระบบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการบันทึกข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ หญิงคลอดบุตร

               ทั้งในระดับหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอเพื่อตรวจสอบ ติดตามสถานการณ์ และดูแลผู้ที่มีภาวะขาด
               สารไอโอดีนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง                                                     ท้องถิ่นใจดี

               มาตรการที่ 5 การพัฒนาระบบคุณภาพบริการและระบบส่งต่อ


                     เน้นการดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการตามมาตรฐานโรงพยาบาลสายใยรักแห่ง
               ครอบครัวที่มีการจัดระบบบริการที่ได้มาตรฐานตามกระบวนการคุณภาพตั้งแต่ระยะตั้งแต่ครรภ์
                                                                                              12
               คลอด หลังคลอด การเลี้ยงดูบุตรอายุ 0-5 ปี โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการบริการ
               รวมทั้งการพัฒนาและรักษาคุณภาพการจัดโรงเรียนพ่อแม่ ชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว ทั้งยังให้
               ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการให้บริการตามมาตรฐานในทุกคลินิกบริการ นอกจากนี้ยังจัดให้
               มีการติดตามการตรวจ TSH ในเด็กทุกราย ทั้งนี้หากรายใดมีผลตรวจค่า TSH เกินกว่า 11.25 mu-l
               จะจัดให้มีการติดตามการเยี่ยมบ้านทุกรายโดยเน้นให้แม่เสริมด้านโภชนาการให้ได้สารไอโอดีน

               เพียงพอ ส่งเสริมให้เลี้ยงเด็กด้วยนมแม่เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ทั้งยังดำเนินการติดตามภาวะ
               โภชนาการและพัฒนาการเด็กตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุ 5 ปี


               มาตรการที่ 6 พัฒนาระบบเฝ้าระวัง เสริมสร้างศักยภาพภาคีเครือข่าย

                     คณะกรรมการกองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่น ได้กำหนดนโยบายให้มีการจัดทำแผนที่ทางเดิน
               ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดสารไอโอดีนอย่างยั่งยืนทั้งนี้เพื่อให้ระบบ

               เฝ้าระวังสามารถดำเนินการได้เป็นอย่างดี ซึ่ง อบต.นาพู่ โรงเรียน โรงพยาบาลเสริมสุขภาพตำบลนาพู่   การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
               ผู้นำชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้ร่วมกันจัดทำแผนแก้ไข
               ปัญหาการขาดสารไอโอดีน โดยมีนวัตกรรมการป้องกันภาวะขาดสารไอโอดีนด้วยการเลี้ยงไก่ไข่เสริม

               ไอโอดีนทุกหลังคาเรือน ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง
               ของมนุษย์จังหวัดอุดรธานี เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับสารไอโอดีนทุกวัน ซึ่งได้กำหนด
               ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 1 คน ดูแลและติดตามสุขภาพอนามัย จำนวน 10-13

               หลังคาเรือน โดยแบ่งระดับมาตรการในการติดตามออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้

                     ระดับที่ 1 การเฝ้าระวังในคน  ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ทารกแรกเกิด
               จนถึงอายุ 5 ปี นักเรียน และ ประชาชนทั่วไป



                     12   ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องมาตรฐานการประเมินโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว ได้ที่ http://
               203.114.124.101/gyne/index. php?option=com _content&view=article&id=53:2011-01-28-16-02-38&
               catid=41:2011-01-28-14-12-31&Itemid=55


                                                                             สถาบันพระปกเกล้า  1 5
   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187