Page 183 - kpi17721
P. 183

ระดับที่ 2 การเฝ้าระวังในเกลือและอาหารเสริมไอโอดีน โดยมุ่งไปที่การควบคุมคุณภาพ

           ภายในโดยผู้ผลิตแหล่งผลิตเกลือเสริมไอโอดีนและอาหารเสริมไอโอดีน ตลอดจนจุดจำหน่ายทั้งใน
           ร้านค้าและครัวเรือน
     ท้องถิ่นใจดี  เน้นการเพิ่มศักยภาพของครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับไอโอดีนในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็ก
                 นอกจากนี้ ยังจัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่จากปศุสัตว์อำเภอรวมทั้ง


           เล็ก ซึ่งกำหนดให้การเตรียมอาหารกลางวันสำหรับเด็กต้องมีไข่ไอโอดีนอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์

           ทั้งยังได้ขับเคลื่อนให้เกิดหมู่บ้านหรือชุมชนต้นแบบ ซึ่งได้คัดเลือกบ้านป่าก้าว หมู่ 4 เป็นชุมชน
           ต้นแบบไอโอดีน

           มาตรการที่ 7 การรณรงค์และประชาสัมพันธ์เชิงรุก


                 มาตรการนี้ เน้นการดำเนินการในพื้นที่หลัก 2 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ในหมู่บ้านและพื้นที่
           ในโรงเรียน กล่าวคือ พื้นที่ในหมู่บ้าน เน้นการติดป้ายและใช้วิทยุชุมชนในการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร
           และความรู้เกี่ยวกับไอโอดีน การแจกจ่ายคู่มือและแผ่นพับให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านเดินรณรงค์ในวัน

           สำคัญ เช่น วันไอโอดีนแห่งชาติ (25 มิถุนายน ของทุกปี) วันอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
     การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
           แห่งชาติ (20 มีนาคม ของทุกปี) งานตลาดนัดสุขภาพ ประเพณีบุญบั้งไฟ และงานกีฬาของโรงเรียน
           เป็นต้น


                 ในขณะเดียวกัน ยังได้มีการส่งเสริมการดำเนินงานโดยการสนับสนุนของกองทุนหลักประกัน
           สุขภาพระดับท้องถิ่นที่ได้มอบเกลือให้แก่ประชาชนทุกหลังคาเรือน ทั้งยังสิ่งเสริมให้มีการเลี้ยงไก่ไข่
           และปลูกผักเสริมไอโอดีน ซึ่งไม่ได้มุ่งหวังแต่เพียงประชาชนในครัวเรือนเท่านั้น แต่ยังมุ่งไปที่ร้านค้า

           ในชุมชนให้มีความตระหนักและให้ความสนใจเรื่องไอโอดีนด้วย ในส่วนของโรงเรียน ได้จัดให้มีน้ำดื่ม
           ไอโอดีนให้บริการ ส่งเสริมให้มีการใช้เกลือ และผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนเป็นส่วนประกอบในการทำ
           อาหารกลางวัน รวมทั้งติดป้ายประชาสัมพันธ์ในบริเวณโรงเรียนอีกด้วย


                 นอกจากการดำเนินงานของเครือข่ายความร่วมมือในดังมาตรการที่กล่าวมา อบต.นาพู่ ยังต่อย
           อดการดำเนินงานของเครือข่ายดังนี้

                (1)  พัฒนาแหล่งศึกษาดูงานให้เป็นศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงครบวงจร โดยใช้กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่

                    ไอโอดีนเป็นวิทยากรหลักหารือร่วมกับ อบต.นาพู่ ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มา
                    ศึกษาดูงาน ดังเห็นได้จากการเข้ามาศึกษาดูงานของหน่วยราชการและองค์กรปกครอง
                    ส่วนท้องถิ่นอื่นๆ มากกว่า 60 แห่ง ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2557 ที่นำไปสู่

                    การขยายเครือข่ายทั้งในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ระดับภาคและระดับประเทศ







      1        สถาบันพระปกเกล้า
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188