Page 184 - kpi17721
P. 184

(2)  กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ไอโอดีน ได้เริ่มการประยุกต์ใช้ในไข่นกกระทาเสริมไอโอดีน เพื่อสร้างอาชีพ

                        นอกเหนือจากไข่ไก่ ให้เป็นทางเลือกเพิ่มเติม

                    (3)  นำธรรมนูญสุขภาพตำบลนาพู่และแผนที่ยุทธศาสตร์ฉบับปฏิบัติการโครงการควบคุมและ

                        ป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพใน พ.ศ.2567 เพื่อพัฒนา   ท้องถิ่นใจดี
                        คุณภาพชีวิตประชาชนตำบลนาพู่ ทั้งในด้านการพัฒนาทักษะทางปัญญา (IQ) และป้องกัน
                        การขาดไอโอดีนซึ่งมี 4 ระดับ และ 17 ขั้นตอนตั้งแต่การพัฒนาศักยภาพของบุคคลากร

                        จนถึงความสามารถของประชาชนในการดูแลตนเองได้ ดังภาพที่ 6

                     ผลจากการดำเนินนวัตกรรมที่ผ่านมา ผู้บริหาร อบต.นาพู่ ยังมีความคาดหวังว่า การเพิ่มสาร
               ไอโอดีนในห่วงโซ่อาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในรูปแบบต่างๆ ผนวกกับฐานคิดตามปรัชญา

               เศรษฐกิจพอเพียง ที่เน้นการพึ่งพาตนเองและการมีส่วนร่วมของชุมชน  โดยบูรณาการเข้ากับวิถีการ
               ดำรงชีพของชุมชน รวมทั้งทรัพยากรที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น ประกอบกับกลไกสำคัญ คือ การวาง
               ระบบการจัดตั้งเครือข่ายการเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวการณ์ขาดสารไอโอดีนของชุมชน ร่วมกับการ
               ขับเคลื่อนของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้สร้างและผลักดันให้นวัตกรรมนี้สามารถแก้

               ปัญหาโรคเอ๋อและการขาดสารไอโอดีนในพื้นที่อย่างยั่งยืน ซึ่งนอกจากจะส่งผลให้ประชาชนตั้งแต่
               ทารกแรกเกิดจนถึงวัยสูงอายุมีสุขภาพที่ดีแล้ว ยังส่งผลเชิงบวกต่อสังคมในด้านต่างๆ อีกด้วย    การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม










































                                                                             สถาบันพระปกเกล้า  1
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189