Page 168 - kpi17721
P. 168

18 กรกฎาคม พ.ศ.2547- 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 วาระต่อมาระหว่าง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 -

               30 กรกฎาคม พ.ศ.2555 และวาระที่ 4 ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555 จนถึง
               ปัจจุบัน รวมแล้วเป็นระยะเวลามากกว่า 15 ปี โดยมีฐานคะแนนเสียงและได้รับความนิยมจาก

               ประชาชนกระจายทั่วพื้นที่แบบไม่มีกลุ่มที่เป็นฐานเสียงเฉพาะเจาะจง  อย่างไรก็ดี แม้ในช่วงเวลา
               ที่ผ่านมาจะมีการแข่งขันในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งทุกครั้ง ซึ่งผู้สมัครอื่นๆ มักอาศัยฐานเสียง    ท้องถิ่นใจดี
               จากเครือญาติในพื้นที่เป็นสำคัญ ตลอดจนการตรวจสอบการเลือกตั้งอย่างเข้มข้น ดังเช่นกรณี
                                                                               4
               การร้องเรียนผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ เมื่อ พ.ศ.2552  แต่นายอำนวยก็ยัง
               คงได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งเช่นเคย

                     ด้านประสบการณ์ นอกเหนือจากการเป็นนักการเมืองท้องถิ่นแล้ว นายอำนวยเคยทำงาน
               ในตำแหน่งพนักงานธนาคาร ก่อนจะลาออกมาประกอบธุรกิจค้าขายวัสดุก่อสร้าง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่

               ตำบลนาพู่ และลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งสมาชิกสภา อบต. และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก
               อบต. ในเวลาต่อมา นอกจากนี้แล้ว นายอำนวยยังเคยเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ

               อุดรธานีในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาการปกครองท้องถิ่น ส่งผลให้เป็นที่รู้จักและสามารถ
               สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ทั้งในพื้นที่ จ.อุดรธานีและ
                             5
               จังหวัดใกล้เคียง  ผลจากการได้รับการยอมรับในความสามารถและการมีบทบาทด้านการพัฒนา
               ที่โดดเด่น นายอำนวยได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นหนึ่งในจำนวน 121 คนดีศรีอุดร

               ในวาระเฉลิมฉลองเมืองอุดรธานี ครบรอบ 121 ปี เมื่อ พ.ศ.2557 รวมไปถึงการได้รับรางวัลของ
               อบต.นาพู่ ที่ผ่านมา เช่น รางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านเกณฑ์การบริหารจัดการที่ดีในปี

               พ.ศ.2554 และรางวัลการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลระดับประเทศ ในปี พ.ศ.2526
               จากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี  เป็นต้น                                             การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม

                     จากที่ได้กล่าวมา จึงเห็นได้ว่าด้วยประสบการณ์ในการเป็นนักบริหารมืออาชีพที่เน้น

               การประสานงานและการบริการอย่างรวดเร็ว จึงทำให้การทำงานร่วมกันระหว่างคณะผู้บริหารและ
               สภา อบต.นั้น มีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันโครงการและการจัดสรร
               งบประมาณเพื่อการพัฒนาในพื้นที่ ซึ่งสอดคล้องกับทัศนะในการทำงานของนายวิจิตร มีเงิน ประธาน
               สภา อบต. ที่เห็นว่านอกจากหน้าที่ในการสะท้อนปัญหา ความเดือดร้อนและความต้องการของ

               ประชาชนในพื้นที่แล้ว หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ให้การสนับสนุนต่อผู้บริหารในกระบวนการ



                      4   กกต.แจกใบแดง นายก อบต.นาพู่ เหตุแจกปุ๋ยจูงใจ เตรียมส่งสำนวนให้ศาลพิจารณา เจ้าตัวลุ้นให้
               ศาลชี้ขาด ยืนยันโครงการแจกปุ๋ยให้ชาวบ้าน ใช้งบ อบต. ส่วน ส.อบต.จำปาโมง ต้องนับคะแนนใหม่, (ออนไลน์),
               (ไม่ปรากฎวันที่), แหล่งที่มา: http://www.tongthin.com/newsview.php?id=1615 (20 สิงหาคม 2558).
                      5   เวียงรัฐ เนติโพธิ์, กระบวนการทางการเมืองในการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข: กรณีศึกษา
               การถ่ายโอนสถานีอนามัย, (กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2553)



                                                                             สถาบันพระปกเกล้า  1 1
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173