Page 164 - kpi17721
P. 164
ครัวเรือนในพื้นที่ 3,450 ครัวเรือน และจำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน
17 หมู่บ้าน
ในส่วนของลักษณะภูมิประเทศนั้น กล่าวได้ว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลนาพู่เป็นที่ราบใช้พื้นที่
ส่วนใหญ่ ทำการเกษตรกรรม พื้นดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย บางแห่งเป็นดินเค็มและดินปนลูกรัง ท้องถิ่นใจดี
ซึ่งภาพรวมมีความอุดมสมบูรณ์ ปานกลางถึงต่ำ เหมาะสำหรับการปลูกข้าวในฤดูฝนเท่านั้น แต่ถ้า
หากมีการชลประทานอันเหมาะสมจะสามารถทำนาปรังในฤดูแล้ง ปลูกพืชผักหรือพืชไร่ต่างๆ หลังฤดู
ทำนาปีได้ สภาพอากาศโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับมรสุมที่พัดผ่านประจำปี จัดอยู่ในประเภทภูมิอากาศแบบ
พื้นเมืองร้อนเฉพาะฤดู นอกจากนี้ในส่วนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยภาพรวมนั้น แม้จะ
ไม่มีพื้นที่ป่าไม้หรือป่าสงวนแต่มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ลำน้ำ บึง หนอง และฝายที่สร้างขึ้น 13 แห่ง
รวมทั้งระบบน้ำประปาที่มีทั้งแบบผิวดินและใต้ดินให้บริการอย่างทั่วถึงทุกหมู่บ้าน ในขณะที่
โครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เช่น ไฟฟ้า มีให้บริการในครัวเรือนร้อยละ 95 ทั้งยังมีไฟฟ้าสาธารณะ
ส่องสว่างในแต่และหมู่บ้านครบทุกหมู่บ้าน รวมถึงที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข
ลักษณะสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่เป็นสังคมแบบเกษตรกรรม มีการรวมกลุ่มในชุมชน
ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ประกอบกับการมีผู้นำท้องถิ่นที่มีบทบาทโดดเด่นในการดำเนินกิจกรรม
ต่างๆ โดยเฉพาะการจัดงานประเพณีท้องถิ่นในระดับตำบล เช่น ประเพณีแข่งเรือ ลอยกระทง
1
สงกรานต์ ออกพรรษา เป็นต้น นอกจากนี้ อบต.และผู้นำชุมชนต่างมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน
งานประเพณีต่างๆ ของท้องถิ่น ตลอดจนการจัดงานรัฐพิธีสำคัญต่าง ๆของอำเภอและจังหวัด โดยมี
พุทธศาสนิกชนเป็นกลุ่มศาสนาหลัก ดังจะเห็นได้จากการมีวัดในพื้นที่ถึง 24 แห่ง กระจายอยู่ในทุก
หมู่บ้าน
ด้านการประกอบอาชีพนั้น นอกจากการประกอบอาชีพภาคการเกษตรแล้ว ยังถือได้ว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
เศรษฐกิจที่สำคัญของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย ร้านปลีกตั้งอยู่ตาม
หมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้านขายของอุปโภค ร้านอาหาร เครื่องดื่ม และบริการทางด้านอื่นๆ ได้แก่
สถานีบริการน้ำมัน ตลาดสด รวมไปถึงสถานประกอบการด้านบริการ เช่น โรงแรม ตลอดจนสถานที่
ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ 2 แห่ง คือ แหล่งท่องเที่ยวบึงชวนและฝายลำน้ำสวย
การจัดการศึกษาในพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ มีโรงเรียน จำนวน 5 แห่ง โดยใน
จำนวนนี้ เป็นโรงเรียนขยายโอกาสการศึกษาที่เปิดให้มีการเรียนการสอนถึงระดับมัธยมศึกษา จำนวน
2 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านนาพู่และโรงเรียนบ้านหลวงหัวสวย นอกจากนี้ยังมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
จำนวน 7 แห่ง ในขณะที่งานด้านสาธารณสุขถือเป็นการให้บริการที่โดดเด่น กล่าวคือ ในพื้นที่ตำบล
นาพู่ได้มีการแบ่งพื้นที่ให้บริการด้านสาธารณสุข 2 เขต ได้แก่ โรงพยายามส่งเสริมสุขภาพตำบล
1 คณะจัดทำแผนตำบลนาพู่, แผนตำบลนาพู่, (อุดรธานี: องค์กรการบริหารส่วนตำบลนาพู่, 2552), หน้า 12.
สถาบันพระปกเกล้า 15